เกษตรวัยเก๋าอุทัยธานี กับไร่มันสำปะหลังยุคดิจิทัล ที่ประยุกต์ความรู้ในอินเทอร์เน็ตมาใช้ได้จริง

เกษตรวัยเก๋าอุทัยธานี กับไร่มันสำปะหลังยุคดิจิทัล ที่ประยุกต์ความรู้ในอินเทอร์เน็ตมาใช้ได้จริง ลุงโพยม หรือนายโพยม สายหยุด ประธานกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่มันสําปะหลัง จังหวัดอุทัยธานี เล่าถึงตัวเองว่า เป็นคนต่างจังหวัดที่ครั้งหนึ่งเคยคิดที่จะมาตามหาฝันในกรุงเทพมหานคร อยากมีรายได้ที่ดีเพื่อส่งกลับไปให้ครอบครัว จึงดั้นด้นเดินทางมารับจ้างแรงงาน แต่แล้วฝันนั้นก็พลันสลายด้วยหลายเหตุผล เช่น ต้องประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นก็มาขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่พอหาเงินแค่ยาไส้ได้วันต่อวัน เมื่อครั้นอายุเริ่มมากขึ้น สุดท้ายจึงตัดสินใจทิ้งความฝัน เดินทางกลับยังภูมิลำเนาบ้านเกิดที่จังหวัดอุทัยธานี เพื่อเริ่มต้นนับหนึ่ง ตามหาฝันใหม่อีกครั้ง

ผมกลับจังหวัดอุทัยธานีมาประกอบอาชีพทำการเกษตร พอเห็นมีคนปลูกมันสำปะหลังแล้วได้กำไรดี ผมก็ตามมาปลูกกับเขาด้วย โดยมีทางกรมชลประทานเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของน้ำที่จะจัดสรรจากเขื่อนระบำ เขื่อนทับเสลา มาให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านเพชรน้ำผึ้ง ในช่วงฤดูแล้งก็ส่งน้ำให้ ซึ่งพอน้ำดีผลผลิต ของเราก็งอกงาม ลุงพโยมได้เผยเคล็ดลับในการปลูกมันสำปะหลังให้เจริญงอกงามได้ผลดี ซึ่งก็ไม่ยากอย่างที่คิดสามารถปฏิบัติตามได้ โดยเริ่มจากการไถพรวนดินเพื่อเตรียมดินให้ดี ตัวดินจะได้ไม่มีวัชพืช ขั้นตอนต่อมาคือ ทำการยกร่องหรือทำสันร่องปลูกมันสำปะหลังขึ้นมา หลังจากนั้นจึงทำการตัดมันสำปะหลังซึ่งจะใช้ลำต้นเป็นท่อนพันธุ์เสียบลงเพื่อปลูกไปตามร่องเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังจะพบคือ โรคใบเหลืองซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา เป็นเชื้อราในดิน ใบที่เหลืองจะส่งผลให้พืชไม่สามารถปรุงอาหารเองได้ และเมื่อปรุงอาหารไม่ได้หัวมันก็จะไม่โตการแก้ไขปัญหาก็คือ ผมจะเข้าไปหาความรู้ ในอินเทอร์เน็ต เปิดเข้าไปดูว่าปัญหานั้นแก้ไขอย่างไร ซึ่งก็มีวิธีการมากมาย ศึกษาแล้วก็นำมาปฏิบัติใช้ เมื่อได้ผลที่ดีก็นำไปบอกพวกพ้อง สร้างกลุ่มแกนนำในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยมีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ สร้างให้กลุ่มเราเป็นเกษตรแปลงใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน.สุดท้าย ลุงพโยมได้ฝากถึงพี่น้องเกษตรกร ที่ก่อนอยากจะไปตามหาฝันที่อื่น ให้นึกถึงพื้นที่ที่เราอยู่ ที่ที่เราเกิดมาว่าเราสามารถจะสร้างอาชีพในพื้นที่เหล่านี้ได้ก่อนไหม ถึงแม้ว่าบางสิ่งบางอย่างมันจะดูไม่สวยหรู ดูเหมือนจะทำแล้วขายไม่ได้ แต่เรายังสามารถทำเพื่อเก็บไว้กินเองได้ การประกอบอาชีพเกษตรกรรมแม้จะได้เห็นผลช้า แต่ทำแล้วจะพบกับ ความสุขที่ยั่งยืน ซึ่งบางคนแค่หากได้ลองเริ่มต้นรดน้ำพรวนดินก็สร้างความสุขให้เราได้แล้ว

ขอบคุณภาพ-ข้อมูล https://www.smartsme.co.th/content/244180

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร 02-104-9999

ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่#ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72 #เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#มันสำปะหลัง

พ่อค้าไทยคัดทุเรียนภูเขาไฟคุณภาพ ส่งขายอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รสชาติถูกใจมีเท่าไหร่ก็ขายหมด

พ่อค้าไทยคัดทุเรียนภูเขาไฟคุณภาพ ส่งขายอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รสชาติถูกใจมีเท่าไหร่ก็ขายหมด ที่สวนน้องใบหม่อน ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 10 บ้านซำขี้เหล็ก ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ นายชูเกียรติ ฮายีมา อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27/2 หมู่ 2 บ้านแสลง อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นพ่อค้ารายใหญ่จาก จ.จันทบุรี ได้นำคณะเดินทางมาเหมาสวนซื้อทุเรียนภูเขาไฟในเขต อ.ขุนหาญ โดยได้ซื้อทุเรียนภูเขาไฟขนาดต่างๆ จำนวนมาก จากนั้นได้นำเอามาคัดเกรดทุเรียน แล้วบรรจุลงในเข่งชั่งน้ำหนักเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกเพื่อเตรียมนำส่งไปยัง จ.จันทบุรี โดยจะมีการคัดเลือกทุเรียนภูเขาไฟอีกครั้งก่อนส่งไปขายต่างประเทศ นายชูเกียรติ ฮายีมา กล่าวว่า ตนมาซื้อทุเรียนภูเขาไฟจากสวนโดยตรง ซึ่งการซื้อทุเรียนมีหลายประเภททั้งการเหมาสวนและซื้อเป็นแบบชั่งกิโล ถ้าซื้อหน้าสวนจะซื้อราคากิโลกรัมละ 125-128 บาททุกลูกแล้วแต่ราคาในท้องตลาด โดยจะส่งไปขายที่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยส่งทุกปีแต่จะต้องดูว่าลูกทุเรียนที่ส่งไปสวยหรือไม่ซึ่งจะต้องคัดอย่างดี โดยส่งไปขายที่สหรัฐอเมริกาเป็นล็อตๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีออเดอร์มาก็จะส่งไปทันทีตามที่พ่อค้าที่อเมริกาและประเทศอื่นๆ จะสั่งมา

ทุเรียนภูเขาไฟที่ตนมาซื้อจากสวนนี้ส่วนใหญ่แล้วจะส่งไปต่างประเทศ โดยที่กำลังขนขึ้นรถอยู่นี้เตรียมจัดส่งไปที่สหรัฐอเมริกา ปีนี้ซื้อทุเรียนภูเขาไฟได้จาก อ.ขุนหา จ.ศรีสะเกษจำนวนประมาณ 200 ตันเฉพาะที่ อ.ขุนหาญ อำเภอเดียว ซึ่งทุเรียนที่คัดนี้หากผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ก็จะคัดออกขายทั่วไป ผิวทุเรียนภูเขาไฟจะต้องไม่มีรอยดำด่างหรือมีเชื้อราอะไรติด เพราะต่างประเทศจะเคร่งครัดในเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษ ทุเรียนภูเขาไฟเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก ตนมาซื้อทุเรียนภูเขาไฟปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยพวกจะเข้าไปในสวนทุเรียนและเป็นคนเลือกตัดเอง ทุเรียนทุกลูกที่ซื้อไม่มีผิดพลาด มีคุณภาพดีทุกลูก แบ่งราคาเป็น 4 เบอร์ ได้แก่ เบอร์สวย ตกไซส์ เบอร์เล็ก และไอ้เข้ หมายถึงเป็นทุเรียนลูกใหญ่รวมแล้วทุเรียนมีตำหนิ ซึ่งจุดเด่นของทุเรียนภูเขาไฟ คือ เม็ดเล็ก กรอบนอก นุ่มใน กลิ่นไม่ฉุนมากนัก มีรสชาติอร่อยมาก

ขอบคุณภาพ-ข้อมูลhttps://mgronline.com/local/detail/9640000057052

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-999

ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่#ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72#เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ทุเรียน

เตือนด่วนเกษตรกรปลูกผักสลัด ระวัง ‘โรคใบจุดตากบ’ ผักใบกว้างกรีนคอส-บัตเตอร์เฮดเสี่ยง เข้าสู่หน้าฝน แต่อากาศยังร้อน

มาตามเวลา เตือนด่วนเกษตรกรปลูกผักสลัด ระวัง ‘โรคใบจุดตากบ’ ผักใบกว้างกรีนคอส-บัตเตอร์เฮดเสี่ยง เข้าสู่หน้าฝน แต่อากาศยังร้อน ประกอบกับมีฝนฟ้าคะนอง ลมพัดแรง และมีฝนตก เป็นระยะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกผักสลัด โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง อย่างกรีนคอส บัตเตอร์เฮด ฯลฯ ให้เฝ้าระวังการระบาดของ โรคใบจุดตากบ.เป็นโรคสามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช อาการเริ่มแรกจะพบแผลเป็นจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อนบนใบพืช และมักจะเกิดที่ใบล่างของต้นแล้วขยายลุกลามไปยังใบด้านบน ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว และพบเส้นใยของเชื้อราเจริญขึ้นเหนือเนื้อเยื่อของพืช ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะคล้ายตากบ.แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ขนาด 1-10 มิลลิเมตร และพบกระจายอยู่ทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรง แผลจะลามขยายติดกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้ กรณีที่เกิดกับใบอ่อน อาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้การปลูกผักสลัดในแปลงปลูก เกษตรกรควรจะทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี อากาศถ่ายเทสะดวก และ ควรเตรียมดินก่อนปลูก ด้วยการไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานอย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้เศษซากพืชและวัชพืชย่อยสลายอีกทั้งควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือให้ฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดด้วยการแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที

กรณีปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์ ควรเตรียมพื้นโรงเรือนให้ดีด้วยการโรยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขังและมีอากาศถ่ายเทสะดวก และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรควรทำความสะอาดโต๊ะปลูกหากเริ่มพบโรคใบจุดตากบ ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าพบโรคระบาดรุนแรง ให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นสลับหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี

ขอบคุณข้อมูล https://www.thairath.co.th/news/local/2099212

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่#ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72#เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ผักสลัด

วันนี้ที่รอคอย ม.สงขลานครินทร์นำร่องเจ้าแรก วิจัยต่อยอด ‘ใบกระท่อม’ พบสรรพคุณเยอะ ชงต่อยอดการแพทย์

วันนี้ที่รอคอย ม.สงขลานครินทร์นำร่องเจ้าแรก วิจัยต่อยอด ‘ใบกระท่อม’ พบสรรพคุณเยอะ-ชงต่อยอดการแพทย์ รายงานข่าวจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) อ.หาดใหญ่เปิดเผยว่าคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ได้ทำการวิจัยพืชกระท่อมเพื่อพัฒนาเป็นเภสัชตำรับ นำไปใช้บำบัดผู้เสพยาเสพติด ทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเภสัชตำรับที่พัฒนา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)“พืชกระท่อมมีสารสำคัญ ไมทราไจนีน (Mitragynine) และ 7-ไฮดรอกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) ที่มีฤทธิ์ระงับปวด รักษาอาการท้องเสีย ลดน้ำหนัก ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านอาการซึมเศร้า คลายกล้ามเนื้อลาย ยับยั้งกลุ่มอาการถอนยาจากเอทานอล ลดอาการวิตกกังวลจากกลุ่มอาการถอนยากลุ่มสารฝิ่น

รายงานข่าวว่าอาการถอนยาที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้พืชกระท่อมจะไม่แสดงอาการก้าวร้าว ต่างจากกลุ่มที่ติดสารเสพติดประเภทอื่น เช่น ยาบ้า ไอซ์ เป็นต้น ที่มักจะแสดงอาการก้าวร้าวออกมาอย่างให้เห็น.“คณะวิทยาศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ปี 61 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) โดยการนำพืชกระท่อมมาพัฒนาเป็นเภสัชตำรับ เพื่อนำไปใช้บำบัดผู้เสพยาเสพติด และทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเภสัชตำรับที่พัฒนา โดยพบว่าการใช้พืชกระท่อมแบบวิถีชุมชนดั้งเดิม คือการเคี้ยวใบสดหรือต้ม ชงใบพืชกระท่อมแห้งเป็นประจำ ไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพด้านความคิด และการรับรู้ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ และการทำงานของสมอง ซึ่งข้อมูลจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการปลดพืชกระท่อมออกจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ.ซืงการใช้พืชกระท่อมมีทั้งคุณ และโทษ หากใช้ในปริมาณที่พอดีจะส่งผลดีต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกับยาหรือสารอื่น.ผศ.ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เภสัชวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด (สพส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ดำเนินการเรื่องพืชกระท่อมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างแนวทางการทำวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชุมชนจนถึงระดับอุตสาหกรรม มีทีมวิจัยที่ร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อนำพืชกระท่อมมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

ผศ.ดร.สมชาย กล่าวว่าทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสติด (ป.ป.ส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ mitragynine ในเลือดกับผลกระทบต่อสมรรถภาพสมองของผู้ใช้กระท่อมเป็นประจำขอบคุณ

ข้อมูลhttps://www.matichon.co.th/region/news_2749143

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่ #ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72 #เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ใบกระท่อม

เกษตรกรพัทลุงสุดเจ๋ง ปลูก ‘ดาหลา’ แซมสวนยางพารา สร้างรายได้เสริมยุคโควิด19

เกษตรกรพัทลุงสุดเจ๋ง ปลูก ‘ดาหลา’ แซมสวนยางพารา สร้างรายได้เสริมยุคโควิด19 ดอกดาหลาสีสันสวยงาม ทั้งดาหลาตายน หรือดาหลาขี้แมว ดาหลากลีบบัว สีขาว สีแดง สีส้ม และสีชมพู ที่มีมากถึง 20 กว่าชนิด กำลังออกดอกสวยงามเด่นภายในสวนยางพาราเนื้อที่ 6 ไร่ของ นายสหจร ชุมคจ หรือไก่ อายุ 48 ปี ชาวบ้าน ม.7 บ้านขาม ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ที่ริเริ่มปลูกพืชร่วมยางพารามานานกว่า 10 ปี.จากสวนยางพาราที่โล่งเตียน มีแต่ต้นยางพาราในอดีต นายสหจร ชุมคจ หรือไก่ ได้เดินทางกลับจากทำงานเมืองหลวง เพื่อมุ่งหน้ากลับบ้านเกิด สวนยางพาราที่เป็นสวนเชิงเดี่ยว เมื่อราคาตกทำให้รายได้ลดลงตามไปด้วย จึงได้นำต้นดาหลาหลากหลายสายพันธุ์มาปลูกแซมในสวนยางพารา พร้อมกับไม้ชนิดอื่นเพื่อควบคู่กัน ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้ว่าการปลูกพืชแซมสวนยางพาราช่วยให้สวนมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ปริมาณน้ำยางและเปอร์เซนต์น้ำยางสูง ผลผลิตดี ประหยัดปุ๋ยและสารเคมีในการกำจัดวัชพืช ที่สำคัญพืชชนิดอื่นที่ปลูกไว้ยังนำมาใช้เป็นอาหารแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน ส่วนที่เหลือและส่วนที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ยังสามารถจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน หันมาปลูกใม้ประดับเพื่อความสุขกันมากขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่มอย่างเป็นกอบเป็นกำจากการจำหน่ายพันธุ์ไม้.ซึ่งในสวนยางพาราปัจจุบัน นายสหจร ชุมคจ หรือไก่ ยังได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกพืชแซมในสวนยางพาราให้ผู้ที่สนใจ อีกทั้งสอนและแนะนำการเพาะขยายพันธุ์ต้นไม้ให้เยาวชนที่เดินทางมาศึกษาดูงาน พร้อมขยายพันธุ์ต้นดาหลาจากพื้นที่ 6 ไร่ แซมในสวนยางพารา เพิ่มเป็น 30 กว่าไร่ และยังมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่างๆ ให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไปอีกด้วย

ขอบคุณภาพ-ข้อมูลhttps://mgronline.com/south/detail/9640000053674

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่#ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72#เกษตรนิวส์ #ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ดอกดาหลา

ชาวนาจ.สุรินทร์เฮลั่น หลังฝนกระหน่ำเทลงมา ลุยดำนาฤดูใหม่

ได้เวลาทำงาน!! ชาวนาจ.สุรินทร์เฮลั่น หลังฝนกระหน่ำเทลงมา ลุยดำนาฤดูใหม่ เมื่อวันที่ (6มิ.ย.2564) ทีมข่าวพบเห็นชาวบ้านเมืองช้างหลายสิบคนรีบเร่งดำนาอย่างขะมักเขม้นคล่องแคล่วและสนุกสนาน ผู้สื่อข่าวจึงลงพื้นที่สอบถามชาวบ้านทราบว่าเป็นชาวบ้านอยู่บ้านฉลีก ตำบลตรวจ อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ โดยชาวบ้าน ชื่อนางวัน บุญตั้งซึ่งเป็นเจ้าของนากล่าวว่า ที่นาของต้นเองเป็นลุ่มต่ำฝนตกที่ไรน้ำจะท่วมขังแบบนี้ตลอดทุกปี “ตนเอง” ก็เคยลองทำนาแบบวิธีไถ่หว่านเมล็ดมาแล้วแต่ไม่ได้ผลเพราะเวลาฝนตกลงมาน้ำก็ท่วมขังทำไห้เมล็ดข้าวเน่าและเสียหาย ตนเองก็เลยเลือกมาทำวิธีแบบดำนาแทนการไถ่หว่านถึงแม้จะช้าและลงทุนเยอะก็ตามแต่ก็เป็นวิธีเดียวที่จะทำไห้ได้ผลผลิตที่ดีและได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและดูแลง่าย และเมื่ออาทิตย์ที่แล้วจนถึงเมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนักทำไห้นาของตนเองมีน้ำเต็มทุ่งนาจำนวนมาก ตนเองก็รู้สึกดีใจและขอบคุณฟ้าที่เมตตา ฝนลงมาให้ ทำไห้ตนเองได้น้ำเอาไว้ดำนาเลี้ยงครอบครัว

วันนี้จึงได้ชักชวนและว่าจ้างเพื่อนบ้านที่ว่างและไม่ได้ทำงานอะไรให้มาดำนาช่วยซึ่งตนเองก็จะจ้างและให้เป็นค่าแรงอีกด้วยโดยจะจ้างเป็นรายวันวันละ 200 บาท นางเหลา ลำแก้ว ชาวบ้านที่มารับจ้างดำนา กล่าวว่าตนเองชอบก็ดำนาอยู่แล้วพอเพื่อนบ้านมาบอกก็ตกลงรับปากที่จะมาช่วยเพราะเป็นวิถีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ตั้งแต่ตนเองยังเป็นเด็กๆ แต่เดียวนี้รู้สึกว่าจะหาดูได้ยากมากแล้วเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่จะเลือกวิธีทำนาแบบไถหว่านเพราะสะดวกรวดเร็วและประหยัดต้นทุน เช่นมีนา 5 ไร่ก็ใช้เวลาทำแค่เพียง 1 วันเท่านั้นก็เสร็จแล้วทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่าการดำนาอีกด้วย วันนี้ก็เป็นวันแรกที่ตนเองและเพื่อนบ้านออกมารับจ้างดำนาก็ถือว่าใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ถึงแม้ว่าค่าแรงจะราคาถูกแต่ตนเองก็ดีใจเพราะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนบ้านด้วยกัน และตนเองก็ได้งานทำและได้เงินจากการรับจ้างดำนาอีกด้วย ก็ถือว่าเป็นภาพที่หาดูได้ยากมากแล้วในยุคเทคโนโลยีที่ทันสมัยแบบนี้อีกอย่างก็ได้เห็นรอยยิ้มและความสมัครสมานสามัคคีของเกษตรกรชาวบ้านด้วยกันขอบคุณภาพ

ข้อมูลhttps://www.komkhaotuathai.com/contents/26685

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

ด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่#ช่องเกษตรนิวส์

ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72#เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ดำนา

คู่รักคู่แค้น กัมพูชาสั่งลุยเพิ่มพื้นที่ปลูกทุเรียน ราคาสูง 230 บาทต่อกก. เตรียมยกระดับในอนาคตคู่แข่งทุเรียนไทย

คู่รักคู่แค้น กัมพูชาสั่งลุยเพิ่มพื้นที่ปลูกทุเรียน ราคาสูง 230 บาทต่อกก. เตรียมยกระดับในอนาคตคู่แข่งทุเรียนไทย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต./ทูตพาณิชย์) ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลสื่อของกัมพูชาว่า กัมพูชามีแผนที่จะส่งเสริมการผลิตทุเรียนโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกและมาตรฐานโรงงานการผลิต โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งสมาคมชาวสวนทุเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ.ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของกัมพูชา บ่งชี้ว่า ปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่ที่ใช้ปลูกทุเรียนจำนวน 5,289 เฮกตาร์(ประมาณ 3.4 หมื่นไร่)ในจำนวนนี้กว่า 3,403 เฮกตาร์(ประมาณ 2.2 หมื่นไร่)สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 36,656 ตันต่อปีซึ่งหากแผนดังกล่าวสำเร็จ คาดว่าจะสามารถทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกทุเรียนในกัมพูชามีรายได้เพิ่มเป็น 120,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ(3.7 ล้านบาท คำนวณที่ 31 บาทต่อดอลลาร์) ต่อเฮกตาร์ต่อปี

เหตุผลที่ทุเรียนกัมพูชากำลังมาแรง

1) กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของกัมพูชา ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลสินค้าเกษตร ของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียนที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญที่อยู่ในแผนการพัฒนาของกระทรวงฯ

2) การปลูกทุเรียนในกัมพูชาเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการบริโภคทุเรียนในประเทศ ที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามราคาทุเรียนที่ผลิตภายในประเทศจะยังคงมีราคาสูงกว่าทุเรียนนำเข้าจากต่างประเทศ โดยทุเรียนที่ผลิตในกัมพูชา มีราคาอยู่ที่ 28,000 เรียล (7.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 233 บาทต่อ กก.) – 30,000 เรียล ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ทุเรียนนำเข้า มีราคาอยู่ที่ 20,000 เรียลต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้ปัจจุบันเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกทุเรียน ประมาณ 10,000 ถึง 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ(3.1-6.2 แสนบาท) ต่อเฮกตาร์ต่อปี

3) ทุเรียนของกัมพูชา มีรสชาติหวานเฉพาะตัว แตกต่างจากทุเรียนจากไทยที่มีรสชาติหวานมัน ซึ่งส่วนใหญ่เพาะปลูกในจังหวัดกัมปอต กำปงจาม เกาะกง และ พระตะบอง แม้ว่าความต้องการบริโภคทุเรียนของชาวกัมพูชา และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกัมพูชายังเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ผู้ส่งออกทุเรียนของไทยควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของทุเรียนส่งออกมายังกัมพูชาเพื่อรักษาตลาด ซึ่งหากกัมพูชามีผลผลิต และคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น อาจส่งผลประทบต่อการส่งออก ทุเรียนของไทยไปยังกัมพูชาได้.โดยทุเรียนที่ผลิตในกัมพูชามีราคาสูงกว่าทุเรียนนำเข้า ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนในด้านการบริหารจัดการสวน ค่าแรง และการขนส่ง ผู้ประกอบการไทยซึ่งมีประสบการณ์สูงอาจใช้โอกาสนี้พิจารณาหาลู่ทางเข้าไปลงทุนทำสวนทุเรียน โดยเฉพาะตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ คล้ายคลึงกับไทย.แม้กัมพูชาจะมีทุเรียนเป็นผลผลิตจากปลูกในประเทศ แต่ผู้บริโภคชาวกัมพูชาก็ยังมีความชื่นชอบ ทุเรียนที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียนของไทยขอบคุณ

ข้อมูลhttps://www.thansettakij.com/content/world/482795

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียวกด Like และ ติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่ #ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72 #เกษตรนิวส์#ข่าวเกษตร#ดรเพียวการเกษตร#ทุเรียน