“ดินและปุ๋ย” ทำความเข้าใจก่อนปลูกพืช

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้นจากการผุพังของหินและแร่  มีอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกันเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่เพื่อการดำรงชีพของมนุษย์เพราะเราได้อาศัยปลูกพืชที่เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  พืชและต้นไม้เจริญเติบโตได้เนื่องจากในดินมีธาตุอาหารมีน้ำและอากาศให้รากพืชได้หายใจ  รากพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้น รากพืชต้องมีอากาศหายใจ ดังนั้นการไถพรวนดินในการปลูกพืชก็เพื่อช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ดินในบริเวณที่เปิดป่าใหม่ ๆ เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เนื่องจากดินชั้นบนสะสมอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชอยู่เป็นจำนวนมาก  ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุและการผุพังของหินและแร่ในดินพืชที่ปลูกจึงงอกงามและให้ผลผลิตสูง  การปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลิตผลจากไร่นาแต่ละครั้งเป็นการเก็บเกี่ยวธาตุอาหารหรือปุ๋ยในดินออกไปด้วยเช่นกัน การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารพืชรวมทั้งอินทรียวัตถุในดิน  ในที่สุดจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ลดลงกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่ได้ผลดีอีกต่อไป  ดังนั้นในการปลูกพืชจึงควรใช้ปุ๋ยปรับปรุงดินเนื่องจากปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะปล่อยธาตุอาหารพืชชดเชยธาตุอาหารพืชเดิมที่สูญเสียไปและยังสามารถเพิ่มเติมธาตุอาหารให้พืชเมื่อปลูกในดินที่มีธาตุอาหารไม่พอเพียง

ธาตุอาหารในดิน

ธาตุไนโตรเจน
ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ที่มีระบบรากพิเศษ สามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมาก ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพืช พืชที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์ เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมากๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่น จะทำให้พืชอวบน้ำมาก ต้นอ่อน ล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพ ผลิตผลของพืชบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยว และมีกากมาก แต่บางพืชก็อาจทำให้คุณภาพดี ขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากจ ะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ ทำให้มีเส้นใยน้อย และมีน้ำหนักดี แต่ผักมักจะเน่าง่าย และแมลงชอบรบกวน พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็ว ทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้า และไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่ว ๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมี เพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

ธาตุฟอสฟอรัส 
ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน ก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้ เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอก นอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้ว ก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำ ในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่า ดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริง แต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่างๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อ ใส่ลงไปในดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยา กับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลาย น้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการ ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน เพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือ โรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืช ปุ๋ยฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่ เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วย ป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุใน ดินและสูญเสียความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจน เกินไป พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็น ใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่างๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ จะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น

ธาตุโพแทสเซียม 
ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K+) เท่านั้น ที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบ ยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก (K+) พืชก็ยัง ดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์อะไรไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำ ในดิน หรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้ ส่วนใหญ่จะดูดยึดที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียว ดังนั้นดินที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น ดินเหนียว จึงมีปริมาณของธาตุนี้สูงกว่าดินพวกเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย และดินร่วนปนทราย ถึงแม้โพแทสเซียมไอออน จะดูดยึดอยู่ที่อนุภาคดินเหนียว รากพืชก็สามารถดึงดูดธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ๆ พอกันกับ เมื่อมันละลายอยู่ในน้ำ ในดิน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอาจจะใส่แบบคลุกเคล้าให้เข้ากับดินก่อนปลูกพืชได้ หรือจะใส่โดยโรยบนผิวดิน แล้วพรวนกลบก็ได้ถ้าปลูกพืชไว้ก่อนแล้ว ธาตุ โพแทสเซียมมีความสำคัญในการสร้างและการ เคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและน้ำตาลไปเลี้ยง ส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่ หัวหรือที่ลำต้น ดังนั้นพืชพวกอ้อย มะพร้าว และ มัน จึงต้องการโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าขาดโพแทสเซียมหัวจะลีบ มะพร้าวไม่มัน และอ้อยก็ไม่ค่อยมีน้ำตาล พืชที่ขาดโพแทสเซียมมักเหี่ยวง่าย แคระแกร็น ใบล่างเหลือง และเกิดเป็นรอยไหม้ตามขอบใบ พืชที่ปลูกในดินทรายที่เป็นกรดรุนแรงมักจะมีปัญหาขาดโพแทสเซียม แต่ถ้าปลูกในดินเหนียวมักจะมีโพแทสเซียมพอเพียง และไม่ค่อยมีปัญหาที่จะต้องใส่ปุ๋ยนี้เท่าใดนัก เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ดินมักจะมีไม่พอ ประกอบกับพืชดึงดูดจากดินขึ้นมาใช้แต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก จึงทำให้ดินสูญเสียธาตุเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า เสียปุ๋ยในดินไปมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ดินที่เราเรียกว่า “ดินจืด” เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับธาตุอาหารพืช N P และ K ที่สูญเสียไป เราจึงต้องใช้ปุ๋ย เพื่อความเข้าใจเรื่องของปุ๋ย จึงใคร่ขอกล่าวถึงชนิดของปุ๋ย และหลักการใช้ปุ๋ยแต่โดยย่อ ๆ ดังนี้
มูลสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยคอกที่ดีได้ ซึ่งควรเก็บสะสมไว้ไม่ควรปล่อยให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งที่เราใส่ลงไปในดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดี และให้ผลิตผลสูงขึ้น

ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้ว ก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O ปุ๋ยขี้ไก่ และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซ สูญหายไป ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอก ไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็ว

การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชี แล้วอัดให้แน่น ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้ง ควรหาจากหรือทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ๆ และยังสดอยู่ ถ้าจะใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P2O5) ลงไปด้วยสักเล็กน้อย ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียไนโตรเจน โดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อย หรือฟางข้าว รองพื้นคอก ให้ดูดซับปุ๋ยไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ย ก็รองเพิ่มเป็นชั้นๆ เมื่อสะสมไว้มากพอ ก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ หรือนำไปใส่ในไร่นาโดย ตรงเลยก็ได้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัด เหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัด หรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการ ไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ย เป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปุ๋ยเคมี 
ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรม จากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

ปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน จะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง สำหรับธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้น พืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำปฏิกิริยากับดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญ เสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปุ๋ย ชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิ ปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ

  • ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
  • ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
  • ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
  • ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง

การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตรเรโชและรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง สูตรปุ๋ยหรือบางทีเรียกว่า “เกรดปุ๋ย” หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมีโดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามีอยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัมในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลางคือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้ายคือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กันจึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้  เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหารในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดินนาในภาคกลางซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่  ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0, 28-28-0, 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น

ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม

ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุดถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควรหรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งก็ คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ยและราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด  การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ยหรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกรตลอดจนราคาของปุ๋ยและของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ

พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารมักจะแคระแกร็นและให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ยจะช่วยยกระดับธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกันอาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing)  ของการให้ปุ๋ยแก่พืชนั้นตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหาร นั้น ๆ มากที่สุดหรือไม่  ช่วงจังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไปพืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าวจะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหารที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ

ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดินปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที

เมื่อเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเมื่อดินดีเราก็จะปลูกพืชได้ผลดี หากดินไม่ดีเราต้องรู้จักวิธีการปรับปรุงดิน เพื่อรักษาสภาพดินให้ดีและมีสารอาหารที่เหมาะกับพืชที่เราต้องการปลูกอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการธาตุอาหารในปุ๋ยและการใส่ปุ๋ย ในปริมาณที่พืชและดินต้องการ เพื่อรักษาความสมดุลในดินให้คงอยู่และไม่ทำให้พืชขาดสารอาหาร

ขอบคุณที่มา : www.fourfarm.com

🌤️แดดแรงมาก ปลูกพืชช่วงนี้ รอด❗ ไม่รอด❗

🔥แล้งนี้ต้องรอด❗❗ จัดด่วน🟢เพียว

ทนแล้ง! ทนโรค! ชุดเดียวเอาอยู่❗

➖ ดินสมบูรณ์ ปลดปล่อยธาตุอาหาร

➖ปรับโครงสร้าง เสริมความแข็งแรง

➖ สะสมอาหาร สร้างผลผลิต

😊 ดูแลพืชแบบมือโปร 🔥ร้อนแล้งนี้เอาอยู่…✨

https://shop.line.me/@921jwnxa/product/1005865036

⚡สั่งด่วนตอนนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ🚚🌪️

เศษถ่านผสมขี้เถ้าแกลบ รองพื้นหลุมปลูก ให้พืชงาม ใบเขียว

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีเป็นอย่างมาก ที่เรานั้นอยากเอามาฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ สำหรับ สูตรรองพื้นหลุมปลูกพืช ที่จะช่วยให้พืชผัก และต้นไม้ที่เราจะปลูกนั้น ออกดอกออกผลสวยงาม ใบเขียวดกโดยสูตรนี้ได้รับการเผยแพร่มาจาก ยูทูปชาแนลช่อง Sivakorn Channel ซึ่งเป็นการใช้ขี้เถ้าแกลบหรือแกลบดำ และเศษถ่าน เป็นส่วนผสมที่ประโยชน์ต่อพืชผักเป็นอย่างมาก

ส่วนผสมที่ต้องเตรียม

1. เศษถ่านเล็กๆ

2. ขี้เถ้าแกลบ หรือแกลบดำ

ขั้นตอนในการทำ

1. ให้นำขี้เถ้าแกลบ และเศษถ่านที่เตรียมไว้มาผสมให้เข้ากัน โดยใช้อัตราส่วนเท่าๆกัน 1 : 1

2. จากนั้นก็ให้ทำการขุดหลุมสำหรับปลูกพืช ให้มีขนาดที่เหมาะสมกัชพืชแต่ละชนิด

สำหรับไม้ล้มลุก พืชอายุสั้น เช่น มะเขือ พริก ให้ขุดหลุมขนาด 15x15x15 เซนติเมตร

สำหรับไม้ผลขนาดใหญ่ เช่น มะม่วง ขนุน ให้ขุดหลุมขนาด 1x1x1 เมตร

3. เมื่อขุดหลุมเตรียมไว้แล้ว ก็ให้เทขี้เถ้าและเศษถ่านที่ผสมหน้าดินแล้วลงหลุมที่ขุดได้เลย

ขอบคุณที่มา ยูทูปชาแนลช่อง Sivakorn Channel / www.fourfarm.com

🌤️แดดแรงมาก ปลูกพืชช่วงนี้ รอด❗ ไม่รอด❗

🔥แล้งนี้ต้องรอด❗❗ จัดด่วน🟢เพียว

ทนแล้ง! ทนโรค! ชุดเดียวเอาอยู่❗

➖ ดินสมบูรณ์ ปลดปล่อยธาตุอาหาร

➖ปรับโครงสร้าง เสริมความแข็งแรง

➖ สะสมอาหาร สร้างผลผลิต

😊 ดูแลพืชแบบมือโปร 🔥ร้อนแล้งนี้เอาอยู่…✨

https://shop.line.me/@921jwnxa/product/1005865036

⚡สั่งด่วนตอนนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ🚚🌪️

เผยวิธีปลูกดอกขจร ให้งามไว ลงทุนครั้งเดียว สร้างรายได้ตลอดทั้งปี

การเตรียมกิ่งดอกขจร

ให้ตัดบริเวณข้อกิ่งด อ กให้ได้ 2 ข้อ ข้อละประมาณ 2 ซม. นำส่วนที่เป็นตาข้อปักลงไปในดินให้ลึกประมาณ 1-2 ซม. เพื่อเพาะชำ

วิธีการปลูกดอกขจร

ใน 1 แปลง ควรใช้ระยะปลูกแบบ 2 แถว โดยให้ห่างกันประมาณ 2×2 เมตร หลุมสำหรับปลูกควรลึกประมาณ 30-50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ ย ค อ กให้พอเหมาะและตามด้วยปุ๋ ย สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง นำกิ่งพั น ธุ์ประมาณ 2-3 กิ่งลงปลูกพร้อมเกลี่ยดินกลบโคนต้นให้แน่น

รดน้ำให้พอชุ่ม หลังจากนั้นควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง หรือตามสภาพของดินว่ามีความชื้นมากน้อยแค่ไหน ขจรจะเริ่มออกด อ กหลังจากปลูกได้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หรือหลังจากที่ปลูกไปแล้วประมาณ 5 เดือน หากมีการให้น้ำอย่ างเพียงพอแก่ความต้องการ ขจรก็จะเริ่มให้ผลผลิตได้อีก

การทำค้างด อ กขจร เพื่อให้ต้นขจรได้พัน และมีการแตกยอดที่ดี จึงควรใช้ไม้ในการทำค้างจำนวน 2 เสา ปักเป็นหลักให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร ตามแนวย าวของแปลง โดยให้สูงจากพื้นดินประมาณ 1.50 เมตร และใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ปักระหว่างเสาหลัก และเพื่อให้เป็นทางเลื้อยขึ้นไปของยอดขจร ก็ให้ใช้ไม้ไผ่ที่ผ่าซีกแล้วผูกเป็นขั้นบันไดไว้ด้วยประมาณ 5-6 ขั้น โดยเว้นทางเดินไว้ประมาณ 80 ซม. นับเป็น 1 ซุ้ม แล้วเริ่มทำซุ้มต่อไปเรื่อยๆ

การใส่ปุ๋ ย ด อ กขจร

ควรให้ปุ๋ ยอินทรีย์สูตรนํ้าชนิดใดก็ได้ประมาณ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ ย สูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 25-7-7 ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน และใส่ปุ๋ ย ค อ ก ปุ๋ ยหมักบริเวณโคนต้นไปได้เรื่อยๆ ตามความเหมาะสม

การดูแลรักษาดอกขจร

ควรใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ได้จากการนำน้ำเปล่า 12 ลิตร ผสมกับสะเดา ตะไคร้หอม ข่า รวมกันให้ได้ 10 ก.ก. แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน โดยใช้ผสมกับนํ้าใช้รดต้นไม้เพื่อเป็นการดูแลบํารุงรักษา

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ขจร จะให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้หลังจากที่ปลูกไปได้ประมาณ 5 เดือน ควรทำการเก็บเกี่ยวในช่วงเช้ามืด โดยใช้มีดคมๆ ตัดบริเวณขั้วของก้านด อ ก เก็บแบบวันเว้นวัน หลังการเก็บเกี่ยวควรมีการตัดแต่งกิ่งที่แก่ออกอยู่เสมอเพื่อให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ ในช่วงที่ให้ด อ กน้อยประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรมีการแต่งกิ่งให้โล่ง หลังทำการย้ายปลูกได้ประมาณ 30 วันต้นขจรก็จะเริ่มผลิด อ ก และในช่วงอายุประมาณ 8-10 เดือน ก็จะให้ผลผลิตได้มากที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com

พ่นแล้ว โตไว ใบเขียว ยอดเดินเร็ว เก็บได้ไว เก็บได้นาน โรคแมลงน้อยลงเยอะ ใช้แล้วติดใจคะ ☺️

ปลูกผักบนคันดิน มีข้อดีและมีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

สำหรับปัญหาเรื่องปุ๋ยและพื้นที่ไม่เหมาะกับการทำเกษตร ควรเลือกปลูกพืชผักในแบบที่แตกต่าง ซึ่งการทำเกษตรแบบนี้มีหลากหลายสารพัดวิธีที่อาจไม่มีอธิบายในเชิงวิชาการ แต่สำหรับวิธีนี้ มีหลักอ้างอิงจากเกษตรกรหลายคนที่ทำสำเร็จมาแล้ว ขอเรียกง่ายๆ ว่า“การปลูกผักบนคันดินหรือการทำคันดินปลูกผัก” โดยภาษาที่เข้าใจกันในสากลบอกไว้ว่าเป็น วิธีทำเกษตรแบบ Hugelkultur

การปลูกและทำแปลงถั่วฝักย าวแบบพอเพียง สร้างรายได้ยั่งยืน ต้นกำเนิดคือ เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติ ที่เกิดการทับถมของเศษกิ่งไม้ใบไม้ขอนไม้ จนก่อเกิดเป็นกองเศษอินทรีย์วัตถุ นานวันเข้าก็ถูกย่อยสลายและกลายเป็นเนินดินเหมาะกับการปลูกพืชผักโดยไม่ต้องรดน้ำใส่ปุ๋ยในเวลานาน

การทำเกษตรแบบ Hugelkultur

คือวิธีการทำเกษตรที่เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติ ว่าในบริเวณต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ล้มที่ร่วงทับถมกันในป่านั้น จะเป็นพื้นที่ที่สามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ โดยรอบและมักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น

เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นด้วย ตลอดระยะเวลานานนับ 10 ปี หลังจากที่เศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมดสิ้นแล้ว บริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound) ที่มีธาตุอาหารมากมาย

เมื่อสามารถใช้พื้นที่เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์โดยการนำพืชผักไปปลูกก็จะมีอัตราการงอกสูง เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Hugelkultur ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า mound culture น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า วัฒนธรรมเนินดิน ซึ่งฟังดูแปลกๆ และไม่สื่อความหมายมากนัก จึงอาจใช้ชื่อว่า Hugelkultur ตามเขา หรือ การปลูกผักบนคันดิน หรือ การทำคันดินปลูกผัก เอาไว้เป็นแปลงเกษตรสำหรับปลูกผักนั่นเอง

ทำเกษตรบนคันดินอย่ างไร ให้ได้ผล

วิธีการทำเกษตบนคันดินแบบ Hugelkultur ก็คือ ใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ มากองสุมเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผักหรือทำประโยชน์ต่างๆ ด้านการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้คือ

พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่นำมากองสุมๆ เอาไว้และถูกย่อยสลายด้วยธรรมชาติ เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยแปลงเกษตรแบบนี้ แทบจะไม่ต้องรดน้ำเลยหรือใช้น้ำน้อยมากในการรดน้ำให้พืชผัก

ประสิทธิภาพที่จะได้สำหรับการปลูกผักบนคันดิน หรือการทำคันดินปลูกผักด้วยวิธี Hugelkultureนี้คือเราจะต้องทำให้แปลงผักกองสุมนี้ให้สูงและกว้าง ยิ่งสูงมากกว้างมาก ก็ยิ่งไม่ต้องเปลืองน้ำกันมาก

การทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur

แต่ขอแนะนำ ให้เอาไม้หรือซากพืชที่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาสั้นๆ นะครับหากนำไม้สดมากองสุมๆ กันอาจต้องใช้เวลาเป็นปีเพื่อจะได้แปลงผักแบบนี้ แต่รับรองว่าทำแล้วจะได้แปลงผักที่ไม่ต้องรดน้ำจนชุ่มไปอีกนานเลยทีเดียว

ข้อมูลระบุว่า

การทำแปลง Hugelkulture 1 ครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 10 ปี เอาไปลองกันเลย ผู้เขียนคิดว่าหากนำวิธีนี้มาจัดสวนล่ะก็ สวนจะอยู่กับเราไปอีกหลายสิบปีเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องรดน้ำพรวนดินกันบ่อย ๆ ดีมาก ๆ เลยวิธีทำเกษตรแบบนี้

ขอขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com

🌤️แดดแรงมาก ปลูกพืชช่วงนี้ รอด❗ ไม่รอด❗

🔥แล้งนี้ต้องรอด❗❗ จัดด่วน🟢เพียวผง 🔴เพียวเอ็กซ์

ทนแล้ง! ทนโรค! ชุดเดียวเอาอยู่❗

➖ ดินสมบูรณ์ ปลดปล่อยธาตุอาหาร

➖ปรับโครงสร้าง เสริมความแข็งแรง

➖ สะสมอาหาร สร้างผลผลิต

😊 ดูแลพืชแบบมือโปร 🔥ร้อนแล้งนี้เอาอยู่…✨

🔥ซื้อ 2 แถม 1 🔥

เพียวผง 2 กล่อง ฟรีเพียวเอ็กซ์ 1 กล่อง

(ปกติ 6,000.-) จ่ายเพียง 1,999.-

https://shop.line.me/@921jwnxa/product/1005865036

⚡สั่งด่วนตอนนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ🚚🌪️

เทคนิคการปลูกดอกไม้ให้ได้ผลดี

“ ดอกไม้  ” เป็นพืชที่ช่วยให้โลกนี้มีความงดงาม เมื่อได้ชมและสูดกลิ่นของดอกไม้ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยทำให้อารมดี มีความสุข นิยมปลูกในกระถางเล็กๆไว้ในบ้านเพื่อ ช่วยลดความเหนื่อยล้า รวมทั้งทำให้บ้านดูดีและอบอุ่นขึ้นมาอีกด้วย

เลือกกระถางให้เหมาะสม

เราควรเลือกกระถางต้นไม้ให้เหมาะกับต้นไม้ที่จะปลูก ถ้าต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง มันก็จะไม่เกิดความสมดุล เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกกระถางให้มีความเข้ากัน เช่น ถ้าต้นไม้เป็นพันธุ์โตเร็ว จนต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ ก็ควรเลือกกระถางขนาดใหญ่ปากกลมกว้าง เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้

ใช้ดินผสม

ดินสำหรับกระถางต้นไม้ควรเป็นดินปนทราย ที่มีปุ๋ยหมัก , ขุยมะพร้าว , ถ่านป่น , อิฐป่น ผสมอยู่ด้วย ช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อการถ่ายเทอากาศของดิน และอุ้มน้ำได้ดี ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลม และอย่าลืมใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงความงามของสีและใบอยู่เสมอ

เลือกต้นที่แข็งแรง

ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องสมบูรณ์ 100% เป็นต้นที่แข็งแรง ไม่มีโรค ไม่มีแมลงติดมา เนื่องจากอาจทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว ซ้ำร้ายกว่านั้นอาจแพร่กระจายโรคไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ควรดูจากพืชที่มีใบเขียวสด , ลำต้นแข็งแรง , พร้อมจะเจริญเติบโตได้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในการปลูก

ดูแลอย่างถูกต้อง

เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี และอยู่นาน ๆ ควรดูแลต้นไม้ให้ถูกวิธี โดยการเลือกดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช ใส่กรวดลงไปในดินบ้างเพื่อให้ช่วยยึดพืช พร้อมเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่าตาย และควรรดน้ำกับความต้องการของต้นไม้ และควรนำต้นไม้ไปรับแดดบ้าง เพื่อให้พืชได้รับแดดไว้คอยสังเคราะห์แสง แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ร้อนหรือโดนแดดแรงมากเกินไป

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ :fsepmichigan /

   “ ดอกไม้  ” เป็นพืชที่ช่วยให้โลกนี้มีความงดงาม เมื่อได้ชมและสูดกลิ่นของดอกไม้ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยทำให้อารมดี มีความสุข นิยมปลูกในกระถางเล็กๆไว้ในบ้านเพื่อ ช่วยลดความเหนื่อยล้า รวมทั้งทำให้บ้านดูดีและอบอุ่นขึ้นมาอีกด้วย

เลือกกระถางให้เหมาะสม

เราควรเลือกกระถางต้นไม้ให้เหมาะกับต้นไม้ที่จะปลูก ถ้าต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง มันก็จะไม่เกิดความสมดุล เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกกระถางให้มีความเข้ากัน เช่น ถ้าต้นไม้เป็นพันธุ์โตเร็ว จนต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ ก็ควรเลือกกระถางขนาดใหญ่ปากกลมกว้าง เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้

ใช้ดินผสม

ดินสำหรับกระถางต้นไม้ควรเป็นดินปนทราย ที่มีปุ๋ยหมัก , ขุยมะพร้าว , ถ่านป่น , อิฐป่น ผสมอยู่ด้วย ช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อการถ่ายเทอากาศของดิน และอุ้มน้ำได้ดี ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลม และอย่าลืมใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงความงามของสีและใบอยู่เสมอ

เลือกต้นที่แข็งแรง

ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องสมบูรณ์ 100% เป็นต้นที่แข็งแรง ไม่มีโรค ไม่มีแมลงติดมา เนื่องจากอาจทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว ซ้ำร้ายกว่านั้นอาจแพร่กระจายโรคไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ควรดูจากพืชที่มีใบเขียวสด , ลำต้นแข็งแรง , พร้อมจะเจริญเติบโตได้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในการปลูก

ดูแลอย่างถูกต้อง

เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี และอยู่นาน ๆ ควรดูแลต้นไม้ให้ถูกวิธี โดยการเลือกดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช ใส่กรวดลงไปในดินบ้างเพื่อให้ช่วยยึดพืช พร้อมเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่าตาย และควรรดน้ำกับความต้องการของต้นไม้ และควรนำต้นไม้ไปรับแดดบ้าง เพื่อให้พืชได้รับแดดไว้คอยสังเคราะห์แสง แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ร้อนหรือโดนแดดแรงมากเกินไป

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ :fsepmichigan /

   “ ดอกไม้  ” เป็นพืชที่ช่วยให้โลกนี้มีความงดงาม เมื่อได้ชมและสูดกลิ่นของดอกไม้ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยทำให้อารมดี มีความสุข นิยมปลูกในกระถางเล็กๆไว้ในบ้านเพื่อ ช่วยลดความเหนื่อยล้า รวมทั้งทำให้บ้านดูดีและอบอุ่นขึ้นมาอีกด้วย

เลือกกระถางให้เหมาะสม

เราควรเลือกกระถางต้นไม้ให้เหมาะกับต้นไม้ที่จะปลูก ถ้าต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง มันก็จะไม่เกิดความสมดุล เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกกระถางให้มีความเข้ากัน เช่น ถ้าต้นไม้เป็นพันธุ์โตเร็ว จนต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ ก็ควรเลือกกระถางขนาดใหญ่ปากกลมกว้าง เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้

ใช้ดินผสม

ดินสำหรับกระถางต้นไม้ควรเป็นดินปนทราย ที่มีปุ๋ยหมัก , ขุยมะพร้าว , ถ่านป่น , อิฐป่น ผสมอยู่ด้วย ช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อการถ่ายเทอากาศของดิน และอุ้มน้ำได้ดี ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลม และอย่าลืมใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงความงามของสีและใบอยู่เสมอ

เลือกต้นที่แข็งแรง

ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องสมบูรณ์ 100% เป็นต้นที่แข็งแรง ไม่มีโรค ไม่มีแมลงติดมา เนื่องจากอาจทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว ซ้ำร้ายกว่านั้นอาจแพร่กระจายโรคไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ควรดูจากพืชที่มีใบเขียวสด , ลำต้นแข็งแรง , พร้อมจะเจริญเติบโตได้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในการปลูก

ดูแลอย่างถูกต้อง

เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี และอยู่นาน ๆ ควรดูแลต้นไม้ให้ถูกวิธี โดยการเลือกดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช ใส่กรวดลงไปในดินบ้างเพื่อให้ช่วยยึดพืช พร้อมเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่าตาย และควรรดน้ำกับความต้องการของต้นไม้ และควรนำต้นไม้ไปรับแดดบ้าง เพื่อให้พืชได้รับแดดไว้คอยสังเคราะห์แสง แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ร้อนหรือโดนแดดแรงมากเกินไป

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ :fsepmichigan / www.fourfarm.com

🌤️แดดแรงมาก ปลูกพืชช่วงนี้ รอด❗ ไม่รอด❗

🔥แล้งนี้ต้องรอด❗❗ จัดด่วน🟢เพียวผง 🔴เพียวเอ็กซ์

ทนแล้ง! ทนโรค! ชุดเดียวเอาอยู่❗

➖ ดินสมบูรณ์ ปลดปล่อยธาตุอาหาร

➖ปรับโครงสร้าง เสริมความแข็งแรง

➖ สะสมอาหาร สร้างผลผลิต

😊 ดูแลพืชแบบมือโปร 🔥ร้อนแล้งนี้เอาอยู่…✨

🔥ซื้อ 2 แถม 1 🔥

เพียวผง 2 กล่อง ฟรีเพียวเอ็กซ์ 1 กล่อง

(ปกติ 6,000.-) จ่ายเพียง 1,999.-

https://shop.line.me/@921jwnxa/product/1005865036

⚡สั่งด่วนตอนนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ🚚🌪️

การทำสวนลิ้นจี่

ปัจจุบันแหล่งปลูกลิ้นจี่ในประเทศไทยจะมี 2 แหล่งใหญ่ คือ บริเวณภาคเหนือตอบบน และบริเวณภาคกลางได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังกระจายการปลูกลิ้นจี่ไปถึงภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดเลย นครพนม หนองคาย เป็นต้น ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี แต่ก็ไม่มากนัก

พื้นที่ปลูก

พื้นที่
• มีความลาดเอียงไม่ควรเกิน 15%
• มีการระบายน้ำดี ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตรลักษณะดิน
ลิ้นจี่เป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือปานกลาง มีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงควรปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่สูงพอสมควร เพราะมีการระบายน้ำที่ดีกว่าในพื้นที่ต่ำ ดินควรมีค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) = 5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ

การเจริญเติบโตของลิ้นจี่ต้องการอุณหภูมิต่ำประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส
แต่ในช่วงก่อนออกดอกต้องการอุณหภูมิต่ำประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส นานติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์และแหล่งปลูก เมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ผลแตกเสียหายได้แหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำสะอาดที่ไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน และมีปริมาณพอที่จะใช้ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

ปริมาณน้ำฝน

• ปริมาณน้ำฝนในปีหนึ่งๆ ควรอยู่ระหว่าง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี ลิ้นจี่จะออกดอกติดผลได้ดี
• ถ้าหากพื้นที่ใดมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี แล้วจะต้องมีการให้น้ำช่วยด้วย
• ส่วนจำนวนวันและการกระจายของฝนที่ตกเป็นสิ่งสำคัญ ไม่น้อยกว่าปริมาณรวมของน้ำฝนที่ตกทั้งปี โดยทั่วไป ถ้าหากมีการกระจายของฝน 100-150 วันต่อปี ขึ้นไปจะเหมาะต่อการติดผลของลิ้นจี่มาก

ปริมาณความชื้น

ปริมาณฝนที่ในปีหนึ่งๆ จะมีผลเกี่ยวข้องกับความชื้นในดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อลิ้นจี่ในช่วงการเจริญเติบโตทาง กิ่งก้าน การออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว แต่ปริมาณความชื้นจะพัฒนา การของลิ้นจี่จะแตกต่างกัน
โดยทั่วไปแล้วลิ้นจี่ต้องการความชื้นในดินสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ซึ่งในช่วงนี้ ถ้าลิ้นจี่ขาดความชื้นในดิน ดอกที่ออกมามักจะแห้งหรือที่ออกดอกแล้วดอกจะร่วง ในกรณีที่มีฝนตกในเดือนเมษายนที่เรียกกันว่า ฝนแรก มักจะทำให้ผลลิ้นจี่แตกและร่วงมาก ดังนั้นการให้น้ำลิ้นจี่ในช่วงหน้าแล้ง แม้จะมีฝนตกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม จะต้องมีการให้น้ำ เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่มีความชื้นในดินและความชื้นในอากาศต่ำในฤดูหนาวความชื้นในอากาศจะลดลงตามลำดับ และจะลดลงมากในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อ เมื่อการระเหยของน้ำในใบมีมากขึ้น ความชื้นในอากาศที่ต่ำจึงมีส่วนทำให้สร้างเนื้อได้น้อย ผลจึงเล็กและรสเปรี้ยวจัด แม้ผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดงแล้วก็ตาม จึงจำเป็นต้องให้น้ำตามความต้องการของลิ้นจี่

พันธุ์ที่ส่งเสริม

พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทย
พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามแหล่งปลูกดังนี้

1. กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกทางภาคเหนือ
เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นมากและยาวนาน ก่อนการออกดอกมากกว่าพันธุ์ที่ปลูกทางภาคกลาง ได้แก่ ฮงฮวย จักรพรรดิ กิมเจง โอวเฮียะ กวางเจา บริวสเตอร์ และกิมจี๊ เป็นต้น

2. กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกในภาคกลาง
ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ต้องการความหนาวเย็นไม่มากและหนาวเย็นไม่นานก็สามารถชักนำให้ออกดอกได้ ปลูกในที่ราบต่ำแถวอำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ พันธุ์ค่อม (ค่อมลำเจียก) กะโหลกใบยาว สำเภาแก้ว กระโถนท้องพระโรง เขียวหวาน สาแหรกทอง จีน ไทยธรรมดา ไทยใหญ่ กะโหลกใบไหม้ กะโหลกในเตา ช่อระกำ และพันธุ์ทิพย์ เป็นต้น

ลักษณะประจำพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกทางภาคเหนือ

พันธุ์ฮงฮวย
เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากที่สุดทางภาคเหนือตอนบน โตเร็ว ทรงพุ่มใหญ่ ใบหนา สีเขียว ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ยอดอ่อนสีเหลืองอ่อนปนเขียว จัดเป็นพันธุ์กลาง ออกดอกประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เดือนพฤษภาคม ติดผลดีสม่ำเสมอ ผลดก ผลผลิตสูง ผลโตขนาดผลกว้าง 3.00 เซนติเมตร ยาว 3.5 เซนติเมตร ผลหนักประมาณ 20-30 กรัม ผลทรงกลมรีจนถึงรูปหัวใจไหล่กว้าง หนามห่าง เปลือกค่อนข้างบาง ผิวสีแดงอมชมพู เนื้อสีขาวขุ่น รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม คุณภาพดี เมล็ดโต ความหวานประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์โอวเฮียะ
ทรงพุ่มใหญ่แต่เล็กกว่าพันธุ์ฮงฮวย มีกิ่งก้านมากเกิดเป็นมุมแคบ ใบเล็กยาว สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนสีแดง เป็นพันธุ์หนัก ออกดอกติดผลไม่สม่ำเสมอ ช่อผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ฮงฮวย ผลทรงรูปหัวใจป้อม ขนาดผลกว้าง 3.0 เซนติเมตร ยาว 3.2 เซนติเมตร ผลหนักประมาณ 18-25 กรัม ผิวผลสีแดงเข้มออกคล้ำ เปลือกบาง เนื้อหนา สีขาวขุ่น เนื้อนุ่ม คุณภาพดีกว่าพันธุ์ฮงฮวย กลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์ฮงฮวย กิ่งฉีกง่าย ออกดอกประ มาณเดือนมกราคม ผลแก่ประมาณต้นมิถุนายน จัดเป็นพันธุ์หนักต้องการความหนาวเย็นมากและยาวนาน ความหวาน 18.5 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์กิมเจง
จัดเป็นพันธุ์หนักต้องการอากาศหนาวเย็นมากและยาวนาน ทรงพุ่มเล็ก ใบเล็กสั้นยอดอ่อนสีแดง โตช้า ทรงผลกลม ขนาดผลกว้าง 2.8 เซนติเมตร ผลหนักประมาณ 18-20 กรัม หนามใหญ่เกิดห่าง ผิวผลสีแดงอมชมพู หรือสีออกแดง เนื้อผลสีขาวขุ่น เมล็ดลีบ ออกดอกประมาณปลายเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เก็บเกี่ยวผลกลางเดือนมิถุนายน พันธุ์กิมเจงอาจแบ่งออกได้เป็น “กิมเจงหนามแหลม” และ “กิมเจงหนามราบ” ความหวาน ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์กวางเจา

ต้นเป็นพุ่มกว้าง ใบเล็กยาวคล้ายพันธุ์โอเฮียะแต่ผลขนาดใหญ่กว่า เจริญเติบโตช้ากว่าพันธุ์ฮงฮวย ออกดอกเดือนกุมภาพันธุ์ถึงมีนาคม ผลแก่ต้นเดือนมิถุนายน ผลทรงรูปหัวใจ หนามไม่แหลม สีของเปลือกเมื่อแก่จัดมีสีแดง ผลหนักประมาณ 35-40 กรัมต่อผล ความหวาน 18.5 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์จักรพรรดิ

ผลโตมาก ออกดอกประมาณเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่ปลายเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ขนาดผลกว้าง 4.4 เซนติเมตร ยาว 4.2 เซนติเมตร ผลหนัก 40-50 กรัม หนามไม่แหลม เปลือกหนา เมื่อแก่จัดสีชมพูแดง เนื้อผลหนา 1.1 เซนติเมตร เนื้อมีน้ำค่อนข้างมาก รสดีพอใช้ ความหวานประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะประจำพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกทางภาคกลาง

พันธุ์กระโถนท้องพระโรง

ผลโต ขนาดผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 3.8 เซนติเมตร ทรงผลรูปหัวใจฐานผลราบ ปลายผลมน หนามเล็กเกิดห่าง ผิวผลแดงคล้ำ ฐานหนามมีรอยสีน้ำตาลเป็นแฉกๆ เนื้อผลสีขาวขุ่น น้ำมาก รสหวาน อมเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย เมล็ดโต ความหวานประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์ค่อม

ผลโตแต่เล็กกว่าพันธุ์กระโถนท้องพระโรง ผลรูปหัวใจ ไหล่ข้างหนึ่งยกขึ้น หนามแหลมสั้น มีแฉกเห็น ชัด ระหว่างหนามมีร่องสีเขียวอมเหลือง ผิวสีแดงอมชมพูแก่ เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสหวานอมฝาด เมล็ดทรงยาว ขนาดผลกว้าง 3.3 เซนติเมตร ยาว 3.5 เซนติเมตร ความหวานประมาณ 19.5 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์เขียวหวาน

ผลทรงกลม ขนาดผลกว้าง 2.8 เซนติเมตร ยาว 2.8 เซนติเมตร จำนวนผล 1 กิโลกรัม มีประมาณ 60-70 ผล ผิวผลสีเขียวอมเหลือง ด้านฐานผลสีแดงอมชมพู หนามโต เนื้อบาง สีขาวขุ่น รสหวานอมฝาด กรอบ มีกลิ่นหอม เมล็ดโต ความหวานประมาณ 17.5 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพภาคเหนือ ผลแก่ก่อนฮงฮวยประมาณ 2 สัปดาห์

พันธุ์สาแหรกทอง

ผลทรงกลมแบนเล็กน้อย ขนาดผลกว้าง 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.20 เซนติเมตร ด้านบนของผล ขยายออก บางผลดูคล้ายรูปหัวใจ ไหล่ผลยกเล็กน้อย ปลายผลมน ผิวสีแดงอมชมพู ระหว่างหนามสีขาวอมเขียว หนามเล็กสั้นเกิดถี่ปานกลาง เนื้อผลหนา สีขาวขุ่น น้ำมาก รสหวาน กลิ่นหอม ความหวานประมาณ 18.5 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์จีน
ผลค่อนข้างกลม ขนาดผลกว้าง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3.2 เซนติเมตร หนามโตปานกลาง แหลม ผิวสีแดงเลือดนก ระหว่างหนามมีสีน้ำตาลแห้งๆ เนื้อหนาสีขาวขุ่น รสเปรี้ยว เมล็ดโตปานกลาง ความหวานประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์

LC กลิ่นลิ้นจี่ Lychee Flavor

การขยายพันธุ์ลิ้นจี่

การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตัดชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่งและการต่อกิ่ง แต่วิธีการ ขยายพันธุ์ที่ชาวสวนนิยมมากที่สุด คือ การตอนกิ่งแบบตอนอากาศ (Air layering) เพราะว่าเป็นวิธีการที่ง่ายประกอบกับลิ้นจี่เป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม มีเกษตรกรบางรายที่ขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการ ต่อกิ่ง

การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ดลิ้นจี่ โดยทั่วไปไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากมักจะมีการกลายพันธุ์ ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด เมื่อนำไปปลูกต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี หรือมากกว่านี้ บางครั้งอาจพบถึง 25 ปี จึงจะออกดอก นอกจากนั้นต้นกล้าที่ได้มีการเจริญเติบโตช้า และบางพันธุ์เมล็ดมักลีบ (chicken tongues) เช่น พันธุ์กวางเจา ซึ่งอาจ มีปัญหาบ้าง แต่ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยเมล็ดคือ ได้พันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น พันธุ์ Peerless กลายพันธุ์มาก จากพันธุ์ Brewster และพันธุ์ Bengal กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ Purbi เป็นต้น นอกจากนี้การเพาะเมล็ดยังมี จุดประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นต้นตอสำหรับการต่อกิ่งติดตาและทาบกิ่ง

การตอนกิ่ง

การตอนกิ่งลิ้นจี่ปกติจะได้ผลถึง 95-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติจะทำการตอนกิ่งในฤดูฝน มีเทคนิคการตอนกิ่งดังนี้
1. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ความยาว 75-100 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ควรเลือกกิ่งที่ได้รับ แสงเต็มที่จะออกรากได้ดีกว่าที่รับแสงน้อย
2. ควั่นกิ่งโดยใช้คีมปากจิ้งจกบิดบริเวณที่จะควั่น เพื่อให้เปลือกลอกออกและลึกเข้าเนื้อไม้เล็กน้อยเพื่อตัดเยื่อเจริญให้ขาด
3. หุ้มรอยควั่นด้วยขุยมะพร้าวซึ่งบรรจุอยู่ในถุงขนาด 4×6 นิ้ว มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
4. หากต้องการเร่งการเกิดรากให้เร็วขึ้น อาจใช้สารเร่งรากเซราดิกซ์เบอร์ 2 หรือ 3% ทาบริเวณรอยควั่นด้านบน
5. ประมาณ 30-45 วันกิ่งตอนจะเริ่มเกิดราก

การต่อกิ่ง
จุดมุ่งหมายในการต่อกิ่งเพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากต้นตอ ในด้านการควบคุมขนาดของทรงต้นและนิสัยการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพผล รวมถึงความต้านทานโรคต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ

วิธีการต่อกิ่ง

ใช้วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม โดยเลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน คือ มีขนาด 3-10 มิลลิเมตร ความยาวของกิ่งพันธุ์ดี 10-15 เซนติเมตร ยอดพันธุ์ดี ควรมีใบติด 3-4 ใบ

ขั้นตอนการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม

1. ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3-4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว
2. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาว 1 นิ้ว
3. เผยอรอยผ่าบนต้นตอออกแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน
4. พันด้วยพลาสติกให้แน่น
5. นำใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น นำไปเก็บไว้ที่ร่ม แสงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 40-50 วัน จึงเปิดปากถุง

ความเป็นมาของลิ้นจี่ - เกร็ดความรู้เกี่ยวกับลิ้นจี่ Lychee

การปลูก

การเตรียมพื้นที่
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำคือ การเตรียมพื้นที่ปลูก ซึ่งจัดได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะลักษณะของพื้นที่แต่ละแห่งนั้นจะแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
            1. ที่ลุ่ม
ขุดร่องยกแปลงขึ้นมาเพื่อเป็นการระบายน้ำเพราะลิ้นจี่ไม่ชอบดินปลูกที่แฉะน้ำ สำหรับความลึกของ ร่องประมาณ 80-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เมตรหรืออาจขุดร่องตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจาก ความสูงต่ำของพื้นที่ และความกว้างของแปลงปลูกไม่ควรต่ำกว่า 5 เมตร ส่วนความยาวของแปลงปลูกจะแล้วแต่ขนาดของพื้นที่
            2. ที่ดอน
เตรียมพื้นที่โดยการไถพรวนและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การเตรียมพื้นที่ในที่ดอนควรคำนึงถึง แหล่งน้ำที่จะใช้ด้วย พร้อมทั้งควรมีการปลูกพืชบังลมเพื่อป้องกันลม

ระยะปลูก

การกำหนดระยะปลูกว่าจะเป็นระยะเท่าใดนั้นมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
            1. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะทำให้การเจริญเติบโตของลิ้นจีดีกว่าการปลูกในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ฉะนั้นถ้าหากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงแล้ว ควรจะใช้ระยะปลูกที่ห่างขึ้น ซึ่งจะตรงกับคำพูด “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง”
            2. ขนาดของทรงพุ่มลิ้นจี่
ต้องคำนึงถึงว่าเมื่อลิ้นจี่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทรงพุ่มจะมีขนาดเท่าใด เพื่อจะป้องกันทรงพุ่มชนกัน เพราะนิสัยการออกดอกติดผลของลิ้นจี่จะมีการออกดอกติดผลบริเวณปลายทรงพุ่ม จึงต้องมีการป้องกันการแย่งแสง
            3. พันธุ์ ลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีการเจริญเติบโตและขนาดทรงพุ่มที่แตกต่างกัน

การเตรียมหลุมปลูก

ขนาดของหลุมปลูกที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี มักจะใช้ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร (กว้างxยาวxลึก)
ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อย มักจะใช้ขนาด 80x80x80 เซนติเมตร

การขุดหลุมควรแยกดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง ในการปลูกนั้น ควรนำเอาดินชั้นบนผสมกับปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปี๊บ และใส่ร๊อกฟอสเฟตหรือกระดูกป่นอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วนำไปใส่หลุมและนำเอาดินชั้นล่างขึ้นข้างบนกลบทับให้เต็มหลุม โดยให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 15-20 เซนติเมตร

การชักนำการออกดอก

การชักนำการออกดอกของลิ้นจี่ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้าน สภาพแวดล้อมในแต่ละปี ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แต่อย่างไรก็ตามมี ผู้เสนอแนวทางในการควบคุมการออกดอก ไว้ดังนี้ คือ
            1. การคัดเลือกพันธุ์
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นจะเห็นว่าพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการออกดอกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นไม่มาก และมีช่วงหนาวเย็นสั้นควรปลูกพันธุ์ภาคกลาง เช่น พันธุ์ค่อม พันธุ์สำเภาแก้ว พันธุ์ทิพย์ พันธุ์จีน เป็นต้น พันธุ์ดังกล่าวจะออกดอกได้ง่าย ส่วนพันธุ์ทางภาคเหนือที่ออกดอกง่ายได้แก่ พันธุ์กิมจี๊ พันธุ์ฮงฮวย สำหรับพันธุ์ที่ออกดอกยาก เช่น พันธุ์ โอเฮียะ และกิมเจง ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆ และยาวนานจึงจะออกดอกได้ดี นอกจากการคัดเลือกพันธุ์แล้วควรเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่มีประวัติการออกดอกติดผลสม่ำเสมอไปปลูก
            2. การควั่นกิ่ง
การควั่นกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ยับยั้งการแตกใบอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการออกดอกของลิ้นจี่ได้ ระยะใบที่เหมาะสมต่อการควั่นกิ่งนั้นควรอยู่ในระยะใบแก่ ต้นลิ้นจี่ที่ควั่นกิ่งต้องสมบูรณ์ การควั่นกิ่งควรทำในเดือนตุลาคม โดยควั่นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 12 เซนติเมตร ขนาดของรอยควั่นกว้าง 1-1.5 มิลลิเมตรลึกเข้าไปถึงเนื้อเยื่อ การควั่นกิ่งจะประสบผลสำเร็จจะต้องมีอุณหภูมิต่ำร่วมด้วย
            3. การงดการให้น้ำ
โดยงดการให้น้ำก่อนการออกดอกประมาณ 2 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน แต่วิธีนี้บางครั้งอาจไม่ได้ผลเนื่องจากมักมีฝนหลงฤดูตกในช่วงฤดูหนาวทำให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน
            4. การปลิดยอดอ่อนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว
ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกแทบทุกปี และมักจะตกปริมาณมาก ทำให้ลิ้นจี่ที่ขาดน้ำมานาน ดูดน้ำฝนเข้าไปเต็มที่ จึงแตกยอดอ่อนในช่วงต้นถึงกลางเดือนธันวาคม ซึ่งใบชุดนี้จะยังแก่ไม่ทันที่อากาศหนาวจัดจะมาถึงในช่วงปลายธันวาคมถึงต้นมกราคม ทำให้ลิ้นจี่ไม่สามารถออกดอกในปีนั้นได้ ดังนั้นการทำลายยอดอ่อนจึงเป็นการสร้างโอกาสให้ลิ้นจี่ออกดอกได้มากขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยใช้มือปลิด หรือใช้สารเอทธิฟอนความเข้มข้น 400 ส่วนต่อล้าน (ppm) ฉีดพ่น

การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย

การให้ปุ๋ยต้นลิ้นจี่แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงต้นเล็กก่อนให้ผลผลิตและช่วงให้ผลผลิตแล้ว การให้ปุ๋ยแต่ละช่วงมีเป้าหมายต่างกัน ทำให้ต้องใช้สูตรปุ๋ย อัตราปุ๋ยและเวลาให้แตกต่างกัน
1. เกษตรกรควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูก เพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสม และเพื่อการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง
2. กรณีที่ปลูกลิ้นจี่แล้ว ควรเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่าการปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ย ในแต่ละปีทำให้ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ควรคัดปรับปรุงหรือใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมอย่างไร
3. การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้รวบรัดแล้ว ควรคำนึงถึงปริมาณเป็นหลักในการใส่ปุ๋ย และควรพิจารณาปริมาณธาตุอาหารที่คงเหลืออยู่ในดินประกอบด้วย
4. เกษตรกรควรมีการเก็บตัวอย่างใบวิเคราะห์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อในชุดที่ 1 อายุ 45-50 วัน และก่อนยึดช่อดอก
5. การใส่ปูนโคโลไมท์ จะใส่เฉพาะในดินที่เป็นกรด และมีแมกนีเซียมในดินต่ำ
6. ดินที่มี pH เป็นกรดระดับเดียวกัน ต้องการปูนสะเทินความเป็นกรดไม่เท่ากัน ถ้าเนื้อดินต่างกัน
7. ไม่ควรแนะนำให้ใส่ปูน และปุ๋ยก่อนทราบค่าวิเคราะห์ดิน เพราะอันตรายมาก ถ้าดินเสียแล้วจะแก้ไขยาก

การให้น้ำ

การให้น้ำแก่ต้นลิ้นจี่ปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นไม้ที่ปลูก ในปีแรกและปีที่ 2 ประมาณ 20-60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 และ 1.0 เมตร)

การให้น้ำแก่ลิ้นจี่อายุ 
ปีขึ้นไป

วิธีการให้น้ำแก่ผิวดิน

การให้น้ำโดยทางผิวดิน เป็นการให้น้ำครั้งหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ดินที่ความลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ให้พืชค่อยๆใช้ได้หลายวัน โดยปริมาณน้ำที่ให้จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มและน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
น้ำที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้ว การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุด คือ การไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวน ให้น้ำสูงเท่ากับความลึกที่ต้องการ การที่จะทำเช่นนี้ได้ พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทำคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลิ้นจี่แต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขังในคันให้สูงตามต้องการ

การให้น้ำโดยสปริงเกอร์และสปริงเกอร์เล็ก

การเลือกหัวสปริงเกอร์ ต้องคำนึงถึงอัตราการซึมน้ำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกสปริงเกอร์ที่ให้น้ำด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าที่น้ำจะซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่ม เป็นการสูญเสียน้ำ เนื่องจากการให้น้ำโดยสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์สามารถทำได้สะดวก เกษตรกรสามารถให้น้ำเป็นราย 3 วัน หรือราย 7 วัน ได้โดยง่าย ดังนั้นเกษตรกรสามารถเลือกให้น้ำทุก 5-7 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ทุก 5 วัน ถ้าเป็นดินเหนียวให้ทุก 7วัน เป็นต้น

การตัดแต่งกิ่ง


การควบคุมทรงต้นลิ้นจี่ต้นเล็ก

ควรจะเริ่มตั้งแต่การเลือกต้นกล้ากิ่งตอนจากกิ่งกระโดงน้ำฝน หรือต้นกล้าที่ได้จากการติดตา ต่อกิ่ง หรือต่อยอด มีหลักปฏิบัติดังนี้
1. หลังจากปลูกเลี้ยงต้นกล้าให้ความสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร จึงตัดยอดเพื่อสร้างกิ่งข้าง
2. รอจนแตกตาข้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ให้เลือกกิ่งที่ทำมุมกว้างกับลำต้นไว้ 3-4 ยอดรอบๆ ลำต้น แล้วจึงตัดปลายยอดออก ให้เหลือความยาวกิ่งประมาณ 50 เซนติเมตร ปล่อยไว้แตกกิ่งแขนงโดยรอบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โดยเลือกกิ่งทำมุมกว้างกับกิ่งหลัก 3-4 กิ่งตัดปลายยอดออก ให้เหลือความยาวกิ่งประมาณ 50 เซนติเมตรเช่นกัน โดยถือปฏิบัติเช่นนี้ จนต้นลิ้นจี่มีอายุ 3-4 ปี จึงปล่อยให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกติดผล
3. วิธีการนี้จะลดปัญหาเรื่องการใช้ไม้ค้ำยันให้กับต้นลิ้นจี่ได้อย่างดียิ่ง

การควบคุมทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่ต้นใหญ่

1. การตัดกิ่งในทรงพุ่ม
2. การตัดกิ่งเพื่อเปิดกลางทรงพุ่ม จนแสงแดดสามารถส่องผ่านลงถึงโคนต้น
3. การตัดยอดลิ้นจี่เพื่อควบคุมความสูง
4. การตัดยอดหรือกิ่งลิ้นจี่ที่ประสานกันจนไม่สามารถจะออกดอกติดผลได้

การจัดการวัชพืช
การจัดการวัชพืชในสวนลิ้นจี่นั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุหรือขนาดของลิ้นจี่ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ลิ้นจี่เล็กและลิ้นจี่ใหญ่

1. 
การกำจัดวัชพืชรอบโคนลิ้นจี่เล็ก
วิธีการใช้จอบถากนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้รัศมีรอบโคนห่างนัก เพียงแต่ถากวัชพืชให้กว้างออกจากโคนต้นพอประมาณ ที่จะใส่ปุ๋ย ให้น้ำได้ เมื่อถากเสร็จอาจใช้เศษวัชพืชเหล่านั้นหรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ฟางข้าวมาคลุมรอบโคนซึ่งช่วยป้องกันการขึ้นของวัชพืชที่จะงอกออกมาใหม่ อีกทั้งยังเป็นการช่วยรักษาความชื้นในดินด้วย การถากด้วยจอบในการกำจัดรอบโคนนี้ อาจให้รัศมีความกว้างออกจากโคนต้นประมาณ 1 เมตรขึ้นไป และเมื่อต้นใหญ่ขึ้นก็ต้องขยายออกไปตามขนาดของทรงพุ่ม

2. 
การจัดการวัชพืชในลิ้นจี่ใหญ่ ทำได้หลายแบบดังนี้
1. การใช้รถตัดหญ้า เป็นวิธีการได้ผลเร็ว ปลอดภัยต่อลิ้นจี่
2. การใช้สารกำจัดวัชพืช ในกรณีที่มีวัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคาขึ้นในระหว่างแถวปลูก

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ลิ้นจี่จัดเป็นไม้ผลประเภท non-climacteric หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผลผลิต ในทางที่ดีขึ้น และ เอธิลีนไม่มีผลต่อการสุกหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า เป็นผลไม้ที่ไม่สามารถบ่มให้สุกได้ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่จึงควรเก็บเกี่ยวในระยะผลแก่พอดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
โดยทั่วไปเกษตรกรจะใช้การเปลี่ยนสีของเปลือกเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสินใจว่าจะเก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ ได้หรือไม่ โดยจะสังเกตจากเปลือกของลิ้นจี่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมชมพู สีชมพูหรือสีแดง เกณฑ์การเปลี่ยนสีดังกล่าวจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สภาพแวดล้อม และการดูแลรักษา อีกลักษณะที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจ คือการดูหนามของผล โดยมีเกณฑ์ว่าลิ้นจี่ที่มีผลแก่ หนามบนผิวเปลือกจะห่างออกจากกัน ลักษณะที่เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสุกแก่ของลิ้นจี่เหล่านี้ เกษตรกรที่ใช้จะต้องเป็นผู้ชำนาญการพอสม ควรไม่อย่างนั้นอาจจะตัดสินใจคลาดเคลื่อนไปได้

วิธีการเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยวทำโดยใช้พะองพาดบนต้น แล้วหักกิ่งเพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งพวงและมีใบติดมาบ้างเล็กน้อย ลิ้นจี่ที่เก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาตกแต่งช่อ คัดเกรดและบรรจุ ซึ่งอาจจะทำอยู่ภายใต้ร่มไม้ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของสวนก็ได้

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

การลดอุณหภูมิผล
การลดอุณหภูมิผลจะช่วยลดการคายน้ำของผล ทำให้ผลลิ้นจี่มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น
มีการรายงานว่าถ้าลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วให้อยู่ที่ 3 องศาเซลเซียสแล้วเก็บรักษาไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลลิ้นจี่มีการสูญเสียน้ำน้อยและถูกโรคเข้าทำลายได้ยากขึ้น
วิธีการลดอุณหภูมิของผลอย่างรวดเร็ว อาจจะทำได้โดยการใช้ลมเย็นผ่านผลอย่างรวดเร็ว (Force-air Cooling) แต่วิธีนี้มักทำให้ผลสูญเสียน้ำหนักไปบ้าง เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะค่อนข้างต่ำ ทำให้มีการคายน้ำจากผลเข้าสู่บรรยากาศ
อีกวิธีที่แนะนำคือ การจุ่มผลลิ้นจี่ในน้ำเย็นหรือน้ำที่ผสมน้ำแข็ง (Hydro Cooling) จะช่วยลดอุณหภูมิผลได้อย่างรวดเร็วและผลไม่สูญเสียน้ำหนักในระหว่างการลดอุณหภูมิผล แต่ต้องระวังรอให้ผลแห้งก่อนการบรรจุ มิฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่ายการสูญเสียคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
การสูญเสียคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของลิ้นจี่เกิดขึ้นเร็วมาก โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีผิวของเปลือก ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียน้ำของเปลือก และการเปลี่ยนแปลงของ สารประกอบพวกฟีนอลภายในเปลือก มีรายงานว่าเปลือกของลิ้นจี่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งภายใน 2-3 วัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ที่แนะนำให้เก็บรักษาลิ้นจี่อยู่ระหว่าง 0-5 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเก็บรักษา ถ้าต้องการเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 สัปดาห์ ควรเก็บไว้อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้โดยที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 มีรายงานว่าการรมควันด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ นาน 25 นาที แล้วนำไปแช่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 1.0 n นาน 15 นาที ก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส จะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่ไว้ได้นานถึง 7 สัปดาห์ โดยไม่มีการเปลี่ยนสีผิวของเปลือกลิ้นจี่

การป้องกันการเกิดสีน้ำตาล บนเปลือกลิ้นจี่โดยการเคลือบไข
ไม่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่ได้ เนื่องจากผิวเปลือกลิ้นจี่ขรุขระ ไม่ราบเรียบทำให้ไม่สามารถเคลือบผลได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงไม่สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของผล ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวเปลือกลิ้นจี่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหมดอายุการใช้งาน

ขอขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com

🌤️แดดแรงมาก ปลูกพืชช่วงนี้ รอด❗ ไม่รอด❗

🔥แล้งนี้ต้องรอด❗❗ จัดด่วน🟢เพียวผง 🔴เพียวเอ็กซ์

ทนแล้ง! ทนโรค! ชุดเดียวเอาอยู่❗

➖ ดินสมบูรณ์ ปลดปล่อยธาตุอาหาร

➖ปรับโครงสร้าง เสริมความแข็งแรง

➖ สะสมอาหาร สร้างผลผลิต

😊 ดูแลพืชแบบมือโปร 🔥ร้อนแล้งนี้เอาอยู่…✨

🔥ซื้อ 2 แถม 1 🔥

เพียวผง 2 กล่อง ฟรีเพียวเอ็กซ์ 1 กล่อง

(ปกติ 6,000.-) จ่ายเพียง 1,999.-

https://shop.line.me/@921jwnxa/product/1005865036

⚡สั่งด่วนตอนนี้ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ🚚🌪️

แนะแนวเรื่อง

ปลูกถั่วงอกรายได้ดี 1 อาทิตย์ รับเงินเลย ปลูกง่ายๆ ไม่ต้องดูแล

การปลูกถั่วงอกมักจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพื่อให้ได้ต้นถั่วที่แข็งแรงและสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีมากขึ้น

มาดูขั้นตอนการปลูกถั่วงอกแบบง่ายๆกันครับ

1. เตรียมดินในที่ปลูกให้ดี โดยเตรียมดินให้ร่วนซุย มีการระบายน้ำดี และมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยคอก เป็นต้น

2. เลือกเมล็ดถั่วที่มีคุณภาพดี ไม่มีสีสันผิดปกติ และไม่มีรอยแตกหรือแตกขาด

3. หลังจากเตรียมดินและเมล็ดถั่วเรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มเพาะเมล็ดโดยวางเมล็ดในแถวโดยระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และให้ระยะห่างระหว่างเมล็ดในแถวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

4. หลังจากนั้นให้โรยดินบางๆ ทับเมล็ดถั่วไว้ และรดน้ำให้ชุ่ม

5. ให้นำถุงพลาสติกหรือแผ่นโพลีเอทิลีนคลุมทับโคนต้นถั่วเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน และช่วยป้องกันการสูญเสียความชื้น

6. หลังจากปลูกถั่วแล้ว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

7. เมื่อถึงเวลาประมาณ 7-10 วันหลังจากเพาะเมล็ด ต้นถั่วจะงอกขึ้นมาแล้ว ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้เเล้ววววว

8. ในช่วงเวลาเดือนที่มีอากาศร้อนและแห้งจะต้องรดน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ต้นถั่วเจริญเติบโตและไม่แห้งแล้ง

9. ในการดูแลรักษาต้นถั่วให้ป้องกันการเข้าทำลายของแมลงหรือโรคพืช โดยใช้วิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการธรรมชาติเช่นการใช้วิธีป้องกันแมลงด้วยการวางตาข่าย

10. หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วแล้ว ควรเก็บรักษาในที่ร่มรำไรและที่มีความชื้นสูงเพื่อป้องกันการเสียหายของถั่ว

การปลูกถั่วงอกนั้นเป็นวิธีการปลูกพืชที่ง่ายและเหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด เช่น บนระเบียงหรือสวนเล็กๆ และสามารถใช้เป็นอาหารสดหรือวัตถุดิบในการทำอาหารได้อีกด้วย ดังนั้นการเริ่มต้นปลูกถั่วงอกไม่ต้องการความเชี่ยวชาญในการปลูกพืชมากมาย แต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาต้นถั่วงอกให้สมบูรณ์และไม่เสียหายด้วยโรคพืชหรือแมลง โดยการไม่ใช้สารเคมีหรือวิธีการธรรมชาติเช่นการใช้สมุนไพรสกัดเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชและแมลง และควรตรวจสอบสภาพดินและอุปกรณ์ปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ต้นถั่วงอกเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และสุขภาพดีตลอดช่วงการปลูกถั่วงอก ดังนั้นการปลูกถั่วงอกเป็นวิธีการปลูกพืชที่สามารถทำได้ง่าย และเหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในพื้นที่จำกัดหรือไม่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชมาก่อน

ถ้าเราเพาะถั่วงอก 10 กิโลกรัมและเก็บเกี่ยวทุก 7 วัน จะได้ผลผลิตประมาณ 70 กิโลกรัมต่อเดือน (10 กิโลกรัม / 7 วัน x 30 วัน)

ดังนั้น รายได้ทั้งหมดที่เราจะได้รับจากการปลูกถั่วงอก 10 กิโลกรัมในระยะเวลา 1 เดือน ถ้าเก็บเกี่ยวทุก 7 วันจะเท่ากับ 70 กิโลกรัม x 4 รอบ x 20 บาท/กิโลกรัม = 5,600 บาทต่อเดือน

หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและตอบได้ถูกต้องตามความต้องการของคุณ

ขอขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com

งัด..เคล็ดลับ💚(เด็ด)🚩จัดการ

..เพลี้ยแป้ง❗เชื้อรา❗ได้ทัน❗

วัคซีน+วิตามิน✅ขวดเดียว..เอาอยู่

❌ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน❌ลดปุ๋ย ❌ลดเคมี

📌ประหยัดต้นทุน กำไรเพียบ💸

มี (เพียว) เงินเหลือเพียบ💰

✅ผลผลิตสูง✅รสชาติดี✅ต้นทุนถูก

🎯บำรุงขวดเดียวเหลือๆ 1 ขวดฉีดได้ 20 ไร่

📌ธาตุอาหารพืชครบในขวดเดียว

📌2 พลัง ทั้งวัคซีนพืชและวิตามินพืช

📌สร้างภูมิคุ้มกัน แข็งแรง โตไว

📌ลดต้นทุน ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนมากกว่า 50%

📌เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 30-80%

📌ใช้ได้กับพืชทุกชนิด พืชไร่ พืชสวน ผักสวนครัว

ช่วยติดดอกง่าย ขั้วเหนียว สีสวย รสชาติดี😍

🌈สร้างน้ำตาล เพิ่มเนื้อทุเรียน พูใหญ่ขึ้นชัดเจน

โปรโมชั่นเด็ดตอนนี้🎁 ซื้อ 1 แถม 1

#ซุปเปอร์เพียว 1 ขวด ฟรี อีก 1 ขวด

ราคาปกติ 2,580.-

ด่วน‼️ ลดพิเศษ📍เพียง 999.-เท่านั้น

โปรโมชั่นพิเศษกว่า🎁 ซื้อ 2 แถม 3

#ซุปเปอร์เพียว 2 ขวด ฟรี 2 ขวด

แถมเพิ่ม เพียวพาวเวอร์ อีก 1 ขวด ราคาปกติ 6,490.-

ด่วน‼️ ลดพิเศษ📍เพียง 1,998.-เท่านั้น

ส่งฟรี! ทั่วประเทศ เก็บเงินปลายทางได้จ้า

คุ้มกว่านี้แจกฟรีแล้วจร้า✅

เพียงพิมพ์คำว่า สนใจ ใต้โพสต์

☄️ รีบสั่งเลยค่ะ จำกัดแค่ 20 ชุดเท่านั้น❗️

👉ส่งฟรี ! เก็บเงินปลายทางได้

📲สั่งผ่านเพจรับของแถมเพิ่ม

☎️สอบถามข้อมูลโทร.087-754-9999

#ทุเรียน#เกษตรกร#ปุ๋ยบำรุงต้นไม้

#เร่งดอก#เร่งผล#ป้องกันโรคแมลง

#เกษตรอินทรีย์#ลดปุ๋ย#ผลดก

การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ

การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ คือ การปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีผักหวานป่าเป็นพืชหลัก มีการปลูกพืชหลายระดับเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางลบกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่า โดยเริ่มจากปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น แคบ้าน กล้วย มะม่วง และสะเดา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาที่ถาวร เนื่องจากตามธรรมชาติผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ตามด้วยการปลูกไม้ระดับกลางคือผักหวานป่าซึ่งเป็นพืชหลัก และการปลูกพืชระดับล่างเป็นพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตได้เร็ว เช่น พืชผัก เป็นต้น

การเลือกพืชมาปลูกร่วมกับผักหวานป่า ต้องให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่าด้วย โดยเฉพาะพืชที่นำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงา ควรเป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตได้ดี และมีผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะเป็นการดีมาก มีการกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นผักหวานป่าได้รับแสงแดดมากหรือน้อยเกินไป ส่วนพืชอายุสั้นอาจเป็นพืชผักกินใบหรือผลก็ได้ เช่น มะเขือ พริก กะเพรา ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก หรือความต้องการของตลาด

ตัวอย่างระบบการปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ 1 ไร่ เช่น ถ้าต้องการปลูกผักหวานป่าร่วมกับกล้วยน้ำว้า และมะเขือเปราะ เริ่มจากปลูกกล้วยเพื่อเป็นพืชให้ร่มเงา ระยะปลูก 3×3 เมตร ปลูกได้ 196 ต้น จากนั้นนำต้นกล้ามะเขือเปราะปลูกระหว่างแถวของต้นกล้วย โดยปลูกเป็นแถวคู่ ระยะปลูก 1×1 เมตร ปลูกได้ 1,040 ต้น เมื่อต้นมะเขือเปราะโตจนมีร่มเงา จึงปลูกผักหวานป่าระหว่างกึ่งกลางแถวคู่ของต้นมะเขือ ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 520 ต้น โดยในช่วงแรกผักหวานป่าจะอาศัยร่มเงาของต้นมะเขือ จนกว่าต้นกล้วยจะสามารถให้ร่มเงาได้

ต้นทุนระบบการปลูกผักหวานป่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของต้นพันธุ์ที่นำมาใช้ คือ ต้นพันธุ์จากการตอนกิ่งมีราคาสูงกว่าจากการเพาะเมล็ด ราคาต้นพันธุ์จากกิ่งตอนประมาณ 100 บาท/ต้น ส่วนเพาะเมล็ดราคาประมาณ 15-20 บาท/ต้น นอกจากนั้นจะเป็นต้นทุนของระบบน้ำ แรงงาน และปุ๋ย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์เป็นหลัก

การปลูกผักหวานป่า 1 ระบบนี้ ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ คือ ปีแรกผลตอบแทนจากการปลูกมะเขือเปราะ ปีที่สองจากการปลูกกล้วยน้ำว้า และเมื่อเข้าสู่ปีที่สามจะได้รับผลตอบแทนจากกล้วยน้ำว้าและผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี และทุก ๆ ปี ในระหว่างรอผลผลิตจากต้นผักหวานป่า นอกจากนั้นยังเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com

แล้งๆพ่นได้ ช่วงฝนพ่นดี ยิ่งพ่น ยิ่งดี ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด แมลงน้อยลงชัวร์✅

เทคนิค “ปลูกมะพร้าวน้ำหอม” ให้หอมหวานตรึงใจผู้บริโภค

มะพร้าวน้ำหอม ที่วางขายในตลาด พอจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เกษตรกรเริ่มจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยคุณสมบัติจะเป็นมะพร้าวที่มีเนื้ออ่อน น้ำหอมบริสุทธิ์ เมื่อบริโภคจะทำให้ได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยบำรุงสมองและเสริมร่างกายให้แข็งแรง

มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลผลิตตอบแทนต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี การปลูกในเชิงการค้าจะให้ผลตอบแทนคุ้มทุนหรือไม่ วันนี้ได้นำแนวทางการปลูกและการผลิตมะพร้าวน้ำหอม หอมหวานตรึงใจผู้บริโภค พืชเศรษฐกิจสำคัญเชิงการค้า จากผู้รู้มาบอกเล่าสู่กัน

ผศ. ประสงค์ ทองยงค์ หรือ อาจารย์ประสงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า ในวัยเด็กได้ช่วยคุณพ่อที่มีอาชีพทำสวนมะพร้าว จึงมีความผูกพันกับมะพร้าวมาต่อเนื่อง เมื่อเรียนจบได้ไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเมื่อเกษียนก็ได้มาสานงานปลูกสร้างสวนมะพร้าวต่อจากคุณพ่อ ถึงวันนี้ได้เสริมสร้างประสบการณ์มากว่า 55 ปี

มะพร้าวน้ำหอม
อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ

มะพร้าวมี 2 กลุ่ม คือ มะพร้าวน้ำหอม หรือ มะพร้าวอ่อนน้ำหอม และ มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอมปลูกได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ในที่ลุ่มภาคกลางมักจะนิยมปลูกในระบบสวนด้วยการยกร่องแปลงปลูกให้สูง ระหว่างแปลงปลูก จัดให้มีร่องน้ำ การปลูกมะพร้าว ในระยะ 1-2 ปี ควรปลูกพืชอายุสั้นเป็นพืชแซม เช่น กล้วย มะละกอ หรือปลูกพืชผักชนิดต่างๆ เพื่อนำผลผลิตมาเป็นอาหารและขายเป็นรายได้เสริม ส่วนในที่ดอนมีแหล่งน้ำและมีฝนตกสม่ำเสมอ เช่น ภาคใต้ มักนิยมปลูกในระบบไร่ และก็มีการปลูกพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด หรือสับปะรด เป็นพืชแซม

วิธีการปลูกพืชแซมเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการผสมผสานใส่ปุ๋ยและให้น้ำเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเสริมรายได้เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต และเมื่อต้นมะพร้าวอายุ 2 ปีขึ้นไป ก็จะหยุดปลูกพืชแซม เพราะเป็นช่วงที่ใกล้จะเริ่มเก็บผลมะพร้าวน้ำหอมไปขายได้แล้ว

มะพร้าวน้ำหอม
การปลูกแบบยกร่องสูง และในระยะ 1-2 ปีแรก ควรปลูกมะละกอหรือพืชผักอายุสั้นเป็นพืชแซมเสริมรายได้

การปลูก วิธีปลูกให้ขุดหลุมปลูกกว้างยาวและลึก ด้านละ 50-75 เซนติเมตร สำหรับในที่ดอนขุดหลุมปลูกควรกว้างยาวและลึก ด้านละ 1 เมตร นำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือใบไม้แห้งผุกับดินบนที่ตากแห้งใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่รองก้นหลุมปลูกให้เต็มหลุม วางต้นพันธุ์เสมอกับปากหลุมปลูกในกรณีที่ปลูกบนที่ลุ่ม และวางต้นพันธุ์ปลูกต่ำกว่าปากหลุมในกรณีปลูกบนที่ดอน ปักไม้หลักผูกยึดกับต้นพันธุ์ป้องกันการโค่นล้ม เกลี่ยดินกลบ ควรปลูกให้ระยะระหว่างต้นและแถวห่างกัน 6-7 เมตร หรือปลูกเป็นลักษณะสามเหลี่ยมด้านเท่าก็ได้

มะพร้าวน้ำหอม
การเลือกผลมะพร้าวคุณภาพมาเพาะเป็นต้นพันธุ์เพื่อนำไปปลูก

การใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกมะพร้าวน้ำหอมได้ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์เพื่อช่วยในการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพและใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ใส่ 1 กิโลกรัม ต่อต้น โดยหว่านรอบทรงต้น เมื่อต้นมะพร้าวเข้าปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรเดิม 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ในปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21-2 (เพิ่มแมกนีเซียม 200 กรัม) ใส่ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ควรใส่ปุ๋ยอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อปีคือ ต้นฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคมและปลายฤดูฝนหรือในเดือนตุลาคมก็จะเจริญเติบโตได้ดี

การให้น้ำ ในที่ลุ่มปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบระบบยกร่องสวน จะให้ได้รับน้ำพร้อมกับพืชผักและไม้ผลอายุสั้น รากมะพร้าวจะแผ่ลงริมร่องสวนดูดซับน้ำ ทำให้ต้นเจริญเติบโตดีและได้ผลดก ส่วนการปลูกในที่ดอน หรือในฤดูแล้งหรือฝนไม่ตกต้องให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อยหรือได้รับน้ำพอเพียง จะช่วยให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี

การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี เมื่อต้นมะพร้าวน้ำหอมอายุ 2 ปีครึ่ง หรือนับตั้งแต่ออกช่อดอกหรือจั่นได้ 190-200 วัน ก็จะพัฒนาเป็นผลอ่อน มีน้ำหวานหอม เนื้ออ่อนนุ่ม และมีกะลาที่แข็งทนทานต่อการขนส่ง ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยว ในรอบ 1 ปีจะตัดเก็บมะพร้าว 12-15 ครั้ง ในทุก 20 วัน จะตัดเก็บมะพร้าว 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ทะลาย ทะลายละ 10-30 ผล

มะพร้าวน้ำหอม
ลักษณะมะพร้าวน้ำหอมต้นเตี้ยคุณภาพ

ในช่วงอายุ 3-10 ปี ต้นมะพร้าวน้ำหอมจะยังเตี้ยอยู่ การตัดเก็บจะใช้วิธีเดินตัดทีละทะลาย เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 10 ปีขึ้นไป ลักษณะต้นจะสูงขึ้น วิธีการตัดเก็บได้ใช้มีดตะขอผูกติดปลายกับไม้ไผ่ แล้วนำขึ้นไปเกี่ยวตัดครั้งละทะลายที่มีไม้ค้ำทะลายไว้ก่อนแล้ว จากนั้นจึงนำลงมา ก็จะได้ผิวผลมะพร้าวที่สวยงามและเก็บได้นาน 7 วัน จัดมะพร้าวใส่ในรถเข็นหรือรถสาลี่ลากจูงออกจากสวนไปเก็บไว้ที่โรงเรือน เพื่อเตรียมขนส่งไปยังโรงงานแปรรูปหรือตลาดท้องถิ่น

ตลาด ผลผลิตมะพร้าวจะมีพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าในท้องถิ่นมารับซื้อถึงในสวน เพื่อนำไปขายที่ตลาดในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง ราคาซื้อขาย 200-500 บาท ต่อทะลาย ส่วนพ่อค้ารายย่อยจะนำมะพร้าวน้ำหอมไปเปิดท้ายรถกระบะเล็ก ขาย 25-35 บาท ต่อผล หรือจัดน้ำและเนื้อมะพร้าวน้ำหอมใส่แก้วหรือใส่ถุงวางขายเพื่อบริการผู้กิน

อาจารย์ประสงค์ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในเชิงการค้าจะคุ้มทุนหรือไม่? นั้น ต้องรู้จักเลือกพื้นที่ปลูกเหมาะสม พันธุ์มะพร้าวดีมีคุณภาพ วิธีการปลูก ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุน การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่ดีก็จะช่วยให้ได้ผลมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญคือ เป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกรได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคง

มะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวน้ำหอมที่น้ำสะอาดบริสุทธิ์มีวิตามินและเกลือแร่ที่ดีต่อสุขภาพ

ด้วยคุณสมบัติของน้ำมะพร้าวน้ำหอมที่สะอาดบริสุทธิ์ มีวิตามินและเกลือแร่ การดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมทุกวันหรือบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมองและทำให้สุขภาพแข็งแรง ผู้ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมควรยึดปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือปลูกพอกินพอใช้และเหลือขายเสริมรายได้ เป็นหนึ่งวิถีการดำรงชีพที่พอเพียงและมั่นคงได้

มะพร้าวน้ำหอม
พ่อค้ารายย่อยนำมะพร้าวน้ำหอมสินค้าขายดีมาให้บริการผู้บริโภค

โดยสรุปจากเรื่องมะพร้าวน้ำหอม หอมหวานตรึงใจผู้บริโภค พืชเศรษฐกิจสำคัญเชิงการค้าเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ที่สำคัญประการหนึ่งคือ ควรตรวจดูคุณสมบัติของดินในพื้นที่ปลูกมีความเหมาะสมเพียงใด เพื่อความมั่นใจให้เก็บตัวอย่างดินใส่ถุงส่งให้หมอดินในชุมชนหรือส่งตรงไปยังกรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ ให้ตรวจวิเคราะห์ดินว่ามีธาตุอาหารใดบ้าง เพื่อจะได้จัดการใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกอัตราส่วนและตรงกับระยะเวลา เพื่อให้ต้นมะพร้าวน้ำหอมเจริญเติบโต ลดต้นทุนการผลิตและให้ผลผลิตคุณภาพดี คุณภาพชีวิตผู้ปลูกมั่นคง

ขอขอบคุณข้อมูล : fourfarm.com

เช็คด่วน❗❗ บ้านไหนสวนไหนโรค-แมลงเยอะ

🐛เพลี้ย! หนอน! แมลง! โรค! ปัญหาพืชซ้ำซาก 🔥💢

“เพียวเอ็กซ์” สารอินทรีย์ กำจัดศัตรูพืช ให้อยู่หมัด👊

ตัดวงจรระบาดใน 7 วัน🐛❌

⚠️ชุดบำรุงจัดหนัก เพิ่มผลผลิต กันโรคแมลง💪

🔥ซื้อ 2 แถม 1 ❗ (ปกติ 6,000.-)

🔴เพียวเอ็กซ์+เพียวผง (อย่างละ 1 กล่อง)

🔴แถมฟรี❗ เพียวเอ็กซ์ 1 กล่อง🔥

🔥จ่ายเพียง 1,999.-🔥

https://shop.line.me/@kasetshop/product/1005367905

📢ถ้ามีปัญหา ศัตรูพืช โรครุมเร้า ทักมา👄

จัดส่งเก็บปลายทางให้ ฟรี❗❗

“ทุเรียน” นอกฤดู เลิกป่วย! เลิกโทรม! แค่ใช้ “เพียว”

“ทุเรียน” นอกฤดู เลิกป่วย! เลิกโทรม! แค่ใช้ “เพียว🌱
📍ซุปเปอร์เพียว >> วิตามินพืช+วัคซีนพืช
📍เพียวเวิร์ค >> เร่งดอก เร่งผล ขั้วเหนียว
⚠️ผลสวย ดกยกแปลง
⚠️โรคแมลงไม่กวน
⚠️ปุ๋ย-ยา ลดเกินครึ่ง

🤩โปรโมชั่นพิเศษ🔥 ซื้อ 2 ฟรี 3 🔥
🌱เร่งต้นโต ใบเขียว เพิ่มผลผลิตคูณ 2💪
ซุปเปอร์เพียว + เพียวเวิร์ค (อย่างละ 1 ขวด)
ฟรี❗❗ ซุปเปอร์เพียว + เพียวเวิร์ค (อย่างละ 1 ขวด)
ฟรี❗❗ เพียวพาวเวอร์ 1 ขวด
(ปกติ 6,450.-)🔥 ลดเหลือ 1,998.-🔥
https://shop.line.me/@kasetshop/product/1005355100

#ใช้ดีจริงรับประกันความพอใจ🔥