สาระเกษตร » “ทุเรียนบ้าน”ทุเรียนพื้นถิ่นหนึ่งปีมีให้กินครั้งเดียว!

“ทุเรียนบ้าน”ทุเรียนพื้นถิ่นหนึ่งปีมีให้กินครั้งเดียว!

16 กุมภาพันธ์ 2024
130   0

ในพื้นที่บ้านคลองคุ้ย หมู่ที่ 3 ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เกษตรกรที่นี่ปลูกผลไม้ผสมผสาน โดยเฉพาะทุเรียนบ้าน หรือพันธุ์พื้นเมือง ร่วมกับ ผลไม้ชนิดอื่น ๆ เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง โดยต้นทุเรียนทุเรียนบ้านหรือทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง บางต้นในพื้นที่แห่งนี้มีอายุ ราว 100 ปีก็มี

.

แม้ทุเรียนบ้านจะมีลูกเล็กและเนื้อทุเรียนน้อยกว่าทุเรียนทั่วๆ ไป แต่ด้วยรสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอม หวาน มัน ทำให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่นิยมรับประทานแบบทุเรียนสด และ ทำเป็นข้าวเหนียวทุเรียน

.

ซึ่งปีนี้พบว่าออกผลผลิตลูกเรียนดกเป็นอย่างมาก และเมื่อถึงฤดูกาลทุเรียนเริ่มที่จะสุกแล้ว ชาวเกษตรกรส่วนใหญ่ที่มีต้นทุเรียนบ้านพันธุ์พื้นเมือง ก็จะเก็บลูกทุเรียนเหล่านี้ มาวางขายกันตามหน้าบ้าน ติดริมถนนห้วยยอด-บ้านโพธิ์ ขายให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ใช้รถเดินทางผ่านสัญจรไปมาในเส้นทางนี้ ลูกค้าและพ่อค้าคนกลางก็มีมาเหมาเป็นเข่งเพื่อนำไปขายต่อด้วยก็มี

.

โดยป้าสาว หรือนางกัลยาณี โชติรัตน์ อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1 ม.3 ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เจ้าของทุเรียนบ้านพันธุ์พื้นเมือง บอกว่า อาชีพหลักของตนเองก็จะขายลูกชิ้นทอดอยู่หน้าบ้านติดริมถนน และก็มีทำอาชีพเสริมด้วยการปลูกทุเรียนบ้านพันธุ์พื้นเมืองไว้ทั้งหมด 20 ต้น และทุเรียนที่สุกแล้วก็จะมาวางขายหน้าบ้านในกิโลกรัมละ 50-60 บาท

.

หากมีคนมาเหมารับซื้อป้าจะขายกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งปีที่แล้ว ทุเรียนบ้านพันธุ์พื้นเมือง ไม่ออกลูกเลย เนื่องจากฝนตกตลอดทั้งปี แต่ปีนี้โชคดีได้ผลผลิตเยอะ ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดยทุเรียนสายพันธุ์นี้ 1 ปีจะมี 1 ครั้ง รสชาติหวานหอม เหมาะกับไปข้าวเหนียวทุเรียน ซึ่งฤดูกาลทุเรียนปีนี้ทำให้มีรายได้เสริมเข้ามาประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อปี ก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย และเมื่อทุเรียนเริ่มสุก ก็จะมีมังคุดสุกตามหลังมาเช่นกันก็นำมังคุดมาขาย ในราคากิโลกรัมละ 50-60 บาทเช่นกัน

ขอบคุณภาพ-ข้อมูล

https://www.77kaoded.com/news/mydear/2440875/embed#?secret=cHUdWuNN2u#?secret=2OpZymDWyp

🔰 ปรึกษาปัญหาเกษตร 🔰

โทร.087-754-9999

📲 แอดไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇

https://line.me/ti/p/%40kasetnew

#ทุเรียน#ปลูกทุเรียน#จังหวัดตรัง

ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72

#เกษตรยุคใหม่#ข่าวเกษตร#เกษตรนิวส์