นับตั้งแต่การระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารามาตั้งแต่ปี 2562 ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างหนัก ล่าสุด ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมหารือแนวทางการแก้ไข
ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผอ.กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สกสว. บอกถึงการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาโรคใบร่วงในยางพารา โดยในส่วนของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามุ่งใช้สารชีวภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยเนื่องจากยะลาเป็นพื้นที่ต้นน้ำ
แต่บางพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยการต่อการใช้สารละลายจึงทดลองใช้สารชีวภัณฑ์ชนิดเม็ด มีแปลงทดสอบที่อำเภอกรงปินัง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ ศอ.บต. และได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ผ่านมหาวิทยาลัยในโครงการการพัฒนาและการเพิ่มประสิทธิภาพของนวัตกรรมสารชีวภัณฑ์เพื่อแก้วิกฤติปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้
นอกจากนี้ยังมีการวิตกกันว่า หากโรคนี้ยังระบาดต่อไป ในอนาคตไม่เพียงแต่จะระบาดเฉพาะยางพาราเท่านั้น อาจจะลามไปถึงทุเรียนที่ตอนนี้เกษตรกรมีการปลูกกันมาก หากประสบปัญหาโรคใบร่วงจะทำอย่างไร
ขณะที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ศึกษาความผิดปกติในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน พบการแสดงอาการในต้นยางที่มีอายุมากและมีพัฒนาการความหลากหลายของพันธุ์และทุกช่วงอายุ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่ภูเขาล้อมรอบและความชื้นสูง จึงพยายามให้ข้อมูลแก่เกษตรกรเพื่อรับมือการระบาด และทดสอบสารเคมีในท้องตลาดเพื่อนำมาแก้ปัญหา
แต่เมื่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคใหม่ที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น โดยนักวิจัยได้เรียนรู้ข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมและแนวทางการป้องกันเพื่อยับยั้งความรุนแรงของโรค รวมถึงการขยายฐานเครือข่ายเกษตรกร
ด้านตัวแทนเกษตรกร นางสุวารี สองแก้ว เจ้าของสวนยางใน อ.เมือง จ.ยะลา เห็นว่าการบริหารจัด การสวนต้องมีระบบนิเวศที่ดี ทำให้พื้นที่มีความโปร่งแสงลอดผ่าน อากาศถ่ายเท สะดวก สะอาด การใช้วัคซีนพืชเข้าสู่ระบบรากเพื่อสร้าง ภูมิคุ้ม กันในลำต้นและรักษาหน้ายางจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
https://www.thairath.co.th/news/local/2586766
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ทักแชท https://m.me/kasetnewstv
ไลน์ @Kasetnews หรือกด
https://line.me/ti/p/%40kasetnews
กด Like และ ติดตามเพจ
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ยางพารา#โรคใบร่วง#ข่าวเกษตร
#เกษตรอินทรีย์#เกษตรนิวส์
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72