สาระเกษตร » “กากอ้อย” ต่อยอดทำเส้นใยเสื้อผ้ามูลค่าสูง!

“กากอ้อย” ต่อยอดทำเส้นใยเสื้อผ้ามูลค่าสูง!

3 มีนาคม 2023
315   0

กากอ้อยที่ถูกตีว่าเป็นเศษของลำดับอ้อยที่เหลือจากการหีบ คำว่า “เศษ” มักมีจุดจบเดียวกันคือ “ถูกทิ้ง” เพราะถูกมองว่าไม่เกิดคุณค่า ไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้ได้อีกต่อไป

.

กระจัดกระจายทั่วประเทศ วัสดุเหลือใช้บางประเภทถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลายด้าน รวมไปถึงกากอ้อยหรือกากชานอ้อย (Bagasse) ที่เราชาวไร่อ้อยคุ้นเคยกันดี กากอ้อย เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือสารอินทรีย์อีกประเภทหนึ่งที่มีดีกว่าการทิ้งเป็นของเหลือ

.

เพราะกากอ้อยที่เหลือจากกระบวนการหีบอ้อยในโรงงานน้ำอ้อย ที่ปัจจุบันยังมีจำนวนอยู่พอสมควร มีราคาขายจากโรงงานตันละประมาณ 300 – 400 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพของกากอ้อย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

.

ในปัจจุบันมีความต้องการใช้เส้นใยเซลลูโลสจากธรรมชาติในงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมากขึ้น แต่ปริมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงได้มีการคิดค้นหาประโยชน์จากกากอ้อย หรือชานอ้อย เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตัวของกากอ้อยเอง จนสามารถพัฒนาการผลิตเส้นใยจากชานอ้อยสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของประเทศ

.

สำหรับการผลิตเยื่อเส้นใยจากชานอ้อย เริ่มจากการนำชานอ้อยมาผ่านกระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำ เพื่อกำจัดเฮมิเซลลูโลสออก จากนั้นนำไปผ่านการต้มเยื่อด้วยสารละลายเบส เพื่อการกำจัดลิกนินออกจากเยื่อ ต่อมานำไปผ่านการฟอกขาวเยื่อ เพื่อกำจัดลิกนินที่เหลือ และลดปริมาณเถ้าในเนื้อ และเพิ่มความขาวสว่างให้กับเยื่อ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการแยกเยื่อแอลฟาเซลลูโลสสูง

.

ซึ่งจะเป็นส่วนวัตถุดิบต้นทางในการผลิตเป็นเส้นใย และในตอนนี้นี้เส้นใยจากชานอ้อยได้ถูกนำไปใช้สำหรับทอตัวอย่างแล้ว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากภาคเอกชน และก็ได้ต่อยอดเป็นเสื้อผ้า เพื่อโกอินเตอร์สู่สากลต่อไป จะเห็นว่ากากอ้อยหรือกากชานอ้อยมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ดัดแปลงของผู้ใช้งาน

.

โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งกากชานอ้อยเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิตรผลเชื่อว่าประเทศไทยของเรามีศักยภาพเพียงพอในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานได้อีกมากมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ของเหลือใช้ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากวัสดุเหลือทิ้ง นับว่าเป็นการทำของเสียไม่ให้เสียของอย่างแท้จริง

Credit-ภาพ

https://www.raimaijon.com/…/sugarcane-residue-capped…/
https://www.thairath.co.th/news/local/1204278

☎️ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

📲 แอดไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇

https://line.me/ti/p/%40kasetnews

📲กด Like 👍 และ ติดตามเพจ 🌟

เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่

#กากอ้อย#ข่าวเกษตร

#เกษตรอินทรีย์#เกษตรนิวส์

#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72