รายที่ฟาร์มสวนผักข้างบ้าน ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 3 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง สองสามีภรรยาอดีตพนักงานบริษัทในกรุงเทพฯ ตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อเดินทางกลับบ้านที่จ.ตรัง โดยใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ทำโรงเรือนขนาดความกว้าง 5 เมตรครึ่งและยาว 7 เมตร ปลูกมะเขือเทศกินผลสดทั้งลูกสีแดงและสีเหลืองหลากสายพันธุ์จำนวน 160 ต้น
โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 2 เดือนครึ่ง ก็สามารถเก็บมะเขือเทศขายได้ในราคากิโลกรัมละ 250 บาท ขายทั้งที่บ้านและทางออนไลน์ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 20-25 กิโลกรัม สร้างรายได้ตั้งแต่ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากลูกค้ากินแล้วติดใจเพราะมีรสชาติดี เนื้อแน่น ผลใหญ่ ผิวสวย และยังปลอดภัยจากการใช้สารเคมี แถมยังเปิดโรงเรือนให้ลูกค้าเข้ามาเที่ยวชม เลือกเก็บ และกินมะเขือเทศผลสดกันได้ทุกวัน
โดยปลูกมาประมาณ 8-9 เดือนแล้ว และเก็บลูกมะเขือเทศขายเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะขายคู่กับผักสลัดที่ปลูก เพราะลูกค้าที่มาซื้อผักสลัดก็จะมาซื้อมะเขือเทศไปทานควบคู่กันไปด้วย ส่วนลูกค้าเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ มีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนต้องจัดคิวตามลำดับก่อน-หลัง เนื่องจากมะเขือเทศสุกไม่ทัน และเตรียมขยายโรงเรือนเพิ่ม เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะขยายตลาดไปขายยังต่างจังหวัดและในห้างสรรพสินค้าเพิ่มด้วย
ขณะที่นางรุ่งฟ้า วชิรถาวรชัย อายุ 37 ปีเจ้าของฟาร์มผักข้างบ้านกล่าวว่า ตอนนี้ได้ผลผลิตอยู่ประมาณสัปดาห์ละ 20-25 กิโลกรัม ราคาขายกิโลละ 250 บาท ขายเป็นกล่อง ๆ ละ ครึ่งกิโลและกล่องเล็ก 39 บาท ซึ่งทั้งแปลงผักสลัดและแปลงมะเขือเทศ ยินดีให้เข้ามาเก็บกินได้เลย
เพราะไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงหรือใช้สารเคมีใดๆ เพราะอยู่ในมุ้ง ที่ปลูกเพราะชอบเป็นทุนเดิม แต่พอตั้งใจกลับมาอยู่บ้าน จึงมีการวิเคราะห์ดูว่าอะไรที่พอจะสร้างเป็นอาชีพได้ ซึ่งตอนแรกตนกับสามีทำงานเป็นพนักงานบริษัทอยู่ที่กรุงเทพฯ ก่อนจะย้ายกลับมาลง เลยสำรวจดูว่าพื้นที่ตรงนี้ เหมาะที่จะทำอะไร แต่ตอนที่กลับมามีเทรนรักสุขภาพค่อนข้างมาก เลยคิดว่าผักสลัดน่าจะเป็นผลผลิตอันหนึ่งที่ลูกค้าน่าจะต้องการมาก
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
เกษตรทำเงิน มะเขือเทศในโรงเรือนปลอดภัยจากสารเคมีสร้างรายได้งาม
https://www.77kaoded.com/news/nopparat-chotikasemkul/2349970/embed#?secret=yHPUL2UBRI
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ทักแชท https://m.me/kasetnewstv
ไลน์ @Kasetnews หรือกด
https://line.me/ti/p/%40kasetnews
กด Like และ ติดตามเพจ
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72