เปลี่ยนวัชพืชเป็นปุ๋ย‼️กรมชลประทานเปิดอบรมเกษตรกร ทำปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวา ช่วยลดวัชพืช-เพิ่มรายได้ให้คนในท้องถิ่น
—————————
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 63 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการแปลงสภาพผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (พลังง้วนดิน) ในเขตสำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า ผักตบชวา นับเป็นวัชพืชที่มีการแพร่พันธุ์และเติมโตได้อย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในการระบายน้ำ
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท พื้นที่รับน้ำจากทางตอนบนของประเทศแห่งสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำให้ไหลลงสู่ทะเล ด้วยเหตุนี้เองในแต่ละปีมักจะพบผักตบชวาและวัชพืชสะสมบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ประมาณ 80,000 – 100,000 ตันต่อปี
.
กรมชลประทาน จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการแปลงสภาพผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (พลังง้วนดิน) ในเขตสำนักงานชลประทานที่ 12 จำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 จัดขึ้นในวันเสาร์ ที่ 26 กันยายน 2563 บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าพระยา รุ่นที่ 2 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 27 กันยายน 2563 บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก และรุ่นที่ 3 จัดขึ้นในวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 2563 บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี มีผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นละ 50 คน
.
สำหรับเทคโนโลยีเกษตรสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน (พลังง้วนดิน) จะใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พืชผัก ปุ๋ยคอก ดินโคลน รำอ่อน ฯลฯ เรียกรวมว่า “สรรพสิ่ง” เพราะเป็นวัสดุที่หาได้รอบตัว แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าหรือเศษของเหลือจากการเกษตร นำมาใช้ผสมตามสูตรที่คิดค้นขึ้น เพื่อใช้ในการเกษตรตั้งแต่การนำมาปรับปรุงดิน บำบัดน้ำ เป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ ดูดอากาศพิษ ไล่แมลง แล้วแต่การผสมสูตร
.
ดังนั้น การทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน หรือ ง้วนดิน เป็นการนำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาผสมกัน แล้วนำไปหมักให้เกิดจุลินทรีย์และแพลงตอนที่เป็นประโยชน์ต่อดิน พืช และสัตว์ ลดต้นทุนของเกษตรกรได้มากกว่า 80% ในพื้นที่เท่าๆ กัน เกษตรกรที่ใช้เกษตรสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโนจะมีต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้ที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ขอบคุณข้อมูล
https://www.thailandplus.tv/archives/223239
☎️ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
? ช่องทำเกษตรอินทรีย์ ? https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว
—————————
?กด Like ? และ ติดตามเพจ ?
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI ? หมายเลข 72