อ.ภูเรือ จ.เลย ลุยกำจัดแมลงวันในสวนแก้วมังกรให้หมดก่อนฤดูท่องเที่ยว ❌??❌
—————————
นางจันทิมา บุนนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าศาลา กล่าวว่า ประชาชนทุกคน หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมแสดงพลัง ร่วมกิจกรรมรณรงค์ ประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยแมลงวัน ในวันนี้ ซึ่งมีเครือข่ายคนรักสุขภาพตำบลท่าศาลา และทุกภาคส่วนรวมจำนวน 140 คน
.
สำหรับ วัตถุประสงค์ของการกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเป็นกำจัดแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคอันตรายต่างๆ ได้แก่ ไข้ไทฟอยด์ โรคอหิวาห์ตกโรค โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โรคตาแดง โรคบิดมีตัว บิดไม่มีตัว โรคโปลิโอ โรคแอนแทร็กซ์ วัณโรค พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความรำคาญ แก่พี่น้องประชาชน
.
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ของอำเภอภูเรือ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พี่น้องชาวตำบลท่าศาลาและชาวภูเรือ ต้องร่วมมือ ร่วมใจพร้อมกันกำจัดแมลงวัน
.
โดยมีกิจกรรมร่วมเดินรณรงค์ เชิญชวน พ่อค้า ประชนชน ส่วนราชการ สนับสนุนการใช้มาตรการ 3 ส. อันได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ การกำจัดแมลงวัน และประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมในการกำจัดแมลงวัน ทุกภาคส่วน และสนับสนุนการบังคับ มาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การประชาสัมพันธ์ การพ่นสารเคมี กำจัดตัวแก่แมลงวัน การพ่นน้ำหมักชีวภาพ กำจัดตัวอ่อนแมลงวัน การทำลายแหล่งเพาะพันธ์แมลงวัน ประชาสัมพันธ์แจกแผ่นพับ โทษและพิษภัยของแมลงวันในพื้นที่
.
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้จะประกอบด้วย การจัดเวทีเสวนาประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยแมลงวัน สาธิตการเก็บปุ๋ยมูลไก่ที่ถูกต้อง สาธิตการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย สาธิตการทำกาวดักแมลงวันจากยางพารา สาธิตการใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย มอบน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ต่อยอดในชุมชน
.
การแก้ไขปัญหาแมลงวันนั้นจำเป็นที่จะบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นราชการทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นเกษตร ปศุสัตว์ สาธารณะสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ร้านค้าโรงแรม ซึ่งหลังจากผู้ประกอบการนำข้อมูล การนำมูลไก่ในพื้นที่มาใช้ในด้านการเกษตร ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ ร้านค้าร้านอาหาร ผู้ประกอบการที่พักโรงแรมก็มีความเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ที่สำคัญอย่างยิ่งตัวพี่น้องเกษตรกรเองผู้ใช้มูลไก่ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาแมลงวันในพื้นที่ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาจะต้องบูรณาการในพื้นที่ร่วมกันทุกภาคส่วน
.
การแก้ไขปัญหาแมลงวันในอำเภอภูเรือจะสำเร็จลงได้ และลำดับต่อไป จะให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็จะต้องมีข้อกำหนดให้มีข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติและบังคับ ใช้กับเกษตรกร ผู้ที่จะนำรถปุ๋ยมูลไก่เข้าไปพื้นที่ จะต้องมีสถานที่เก็บก่อน มีการป้องกันด้วยการหมักอย่างดี ก่อนที่จะนำไปจำหน่ายให้เกษตรกรซึ่งจะต้องบูรณาการร่วมกันจึงจะสำเร็จ
ขอบคุณข้อมูล
https://www.77kaoded.com/news/amarin/1984292
☎️ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
? ช่องทำเกษตรอินทรีย์ ? https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว
—————————
?กด Like ? และ ติดตามเพจ ?
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI ? หมายเลข 72